วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ปรัชญาการเมือง ( Political Philosophy)

ปรัชญาการเมือง ( Political Philosophy)
                ปรัชญาการเมือง คือสาขาของปรัชญาประยุกต์ที่ศึกษาถึงชีวิตทางสังคมหรือชีวิตทางการเมืองของมนุษย์ ปัญหาที่ปรัชญาการเมืองศึกษาจึงเป็นเรื่องของสังคม ( Society) และรัฐ ( The State ) ในแง่ของธรรมชาติ ( Essence ) บ่อเกิด ( Origin ) และคุณค่า ( Value ) ของรัฐและสังคม หรืออาจกล่าวได้ง่าย ๆ ว่า นักปรัชญาการเมืองเป็นกลุ่ม  ของนักปรัชญาที่ต้องการเสนอความคิดเกี่ยวกับองค์กรที่เหมาะสมสำหรับมนุษย์ในการรวมตัวกันเป็นกลุ่มหรือสังคม นักปรัชญาการเมืองไม่ลืมที่จะกล่าวถึงเรื่อง ความยุติธรรม         ( Justice ) และวิถีที่จะนำไปสู่ความยุติธรรมของสังคม การออกกฎและการเคารพกฎ ดังนั้น ถ้าจะกล่าวให้กระชับยิ่งขึ้น ก็คือ ในขอบข่ายของปรัชญาการเมืองนี้ นักปรัชญาพยายามเสนออุดมการณ์เกี่ยวกับสังคมและรัฐที่เขาคิดว่า ควร จะเป็นนั่นเอง ไม่ได้กล่าวถึงการเมืองการปกครองที่เป็นจริงที่ได้ปรากฏหรือกำลังปรากฏให้เห็นในประวัติศาสตร์การปกครองของประเทศต่างๆจริงๆ

ปรัชญาทางการเมือง
                ๑.   การเมืองเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับอำนาจ ซึ่งอำนาจทางการเมืองเป็นอำนาจสูงสุดในแผ่นดิน
                ๒.  ผู้ปกครองเป็นผู้มีอำนาจสูงสุด อาจเป็นถึงเจ้าชีวิตและเจ้าแผ่นดิน เป็นผู้มีอำนาจในการกำหนดกฎระเบียบให้ผู้ใต้บังคับบัญชาปฏิบัติตาม และมีอำนาจสิทธิ์ขาดที่จะลงโทษผู้ละเมิด แม้กระทั่งโทษประหารชีวิต
๓. นักการเมืองเป็นผู้ออกกฎหมาย รวมทั้งกฎหมายนิรโทษกรรม ซึ่งสามารถยกเลิกคำพิพากษา ยกเลิกคำสั่งประหารชีวิตได้
                ๔. อำนาจทางการเมืองที่เป็นผลผลิตของนักการเมืองทำให้คนตายได้ การใช้อำนาจทางการเมืองเป็นสิ่งสูงสุดของแผ่นดิน เช่น จิ๋นซีฮ่องเต้เกณฑ์คนเป็นล้านเพื่อสร้างกำแพงเมืองจีน ซึ่งเป็นอำนาจของรัฐ ประชาชน หรือผู้ใต้บังคับบัญชาไม่สามารถปฏิเสธได้

ความคิดทางการเมือง
                ความหมายของการเมือง พอสรุปได้ดังนี้          
๑.      การจัดการอำนาจเพื่อประโยชน์สุขของประชาชน
                ๒.  เป้าหมายของการเมืองที่พึงประสงค์คือความดีงาม
                ๓.  นักการเมืองไม่ดี ทำให้ประชาชนเห็นว่าการเมืองเป็นสิ่งเลวร้าย
                ๔.  นักการเมืองที่ดีย่อมนำการเมืองไปสู่ความดีงาม
                ๕.  การเมืองและนักการเมืองเป็นคนละส่วนกัน



สถาบันการเมืองการปกครอง
                โดยธรรมชาติมนุษย์นั้นไม่สามารถอยู่โดดเดี่ยวตามลำพังตนเองได้ เนื่องจากไม่สามารถสนองความต้องการในปัจจัยพื้นฐานได้ทั้งหมดด้วยตนเอง จึงมีความจำเป็นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นถึงแม้มนุษย์จะมีภาวะแตกต่างจากสัตว์ตรงที่มนุษย์มีระบบความคิดที่ซับซ้อน จึงสามารถคิดและให้เหตุผลต่อสิ่งต่างๆ ได้ แต่มนุษย์แต่ละคนก็มีความแตกต่างในระหว่างกัน ซึ่งอาจจะเป็นเรื่องของเชื้อชาติ สภาพแวดล้อมทั้งทางภูมิศาสตร์ เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม ประเพณี การเลี้ยงดูและอื่นๆ ซึ่งส่งผลต่อความคิดและการกระทำของมนุษย์โดยตรง ซึ่งการกระทำและความคิดนั้นๆ อาจจะไปขัดแย้งกับความคิดและส่งผลกระทบทางลบแก่บุคคลอื่น ความขัดแย้งดังกล่าว ก่อให้เกิดภาวะผู้นำในสังคมนั้น ซึ่งสมาชิกจะให้ความเคารพยอมรับนับถือและเชื่อฟัง มีลักษณะของการมีผู้นำ ผู้ตาม ผู้ออกคำสั่งและผู้รับคำสั่งไปปฏิบัติ ลักษณะของผู้นำในสังคมบรรพกาล ถูกพัฒนาตลอดเวลาจนมีลักษณะเป็นระบบเป็นองค์กรมากขึ้นเป็นลำดับจนถึงปัจจุบันระบบสังคมในแต่ละรัฐหรือประเทศจะใช้สัญชาติเป็นจุดเชื่อมระหว่างรัฐกับสมาชิกของรัฐรัฐจะมีอำนาจเหนือคนที่ตนให้สัญชาติอย่างเต็มที่

๑.  แนวคิดเกี่ยวกับการเมืองการปกครอง
               การเมืองการปกครองเป็นเรื่องของอำนาจที่บุคคลคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งเรียกว่าผู้ปกครอง มีอำนาจเหนือบุคคลอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่าผู้อยู่ใต้ปกครองผู้ทำหน้าที่ปกครองจะต้องมีความสามารถในการจัดสรรทรัพยากรทั้งหมดที่มีอยู่ในรัฐให้แก่ผู้อยู่ใต้ปกครองอย่างยุติธรรมทั่วถึง สังคมภายในรัฐนั้นจึงจะสงบสุข โดยทั่วไปผู้ปกครองที่จะสามารถอยู่ในภาวะการเป็นผู้นำได้เป็นระยะเวลายาวนาน จะต้องได้รับการยอมรับจากสมาชิกในรัฐซึ่งก็คือประชาชนนั่นเอง    การเมืองการปกครอง เป็นเรื่องที่มีการศึกษากันอย่างต่อเนื่องยาวนานมากว่า ๒๕๐๐ ปีแล้ว นักปราชญ์ ชาวกรีก ๒ ท่าน ที่ได้ให้กำเนิดแนวคิดเรื่องการเมือง การปกครอง และนักรัฐศาสตร์ในปัจจุบันที่ศึกษาเรื่องการเมืองการปกครองหรือที่เรียกว่า รัฐศาสตร์ จะต้องอ้างถึงเสมอคือ เพลโต (Plato,๔๒๗-๓๔๗ ก่อนคริสตกาล) และ อริสโตเติล (Aristotle ,๓๒๒-๒๘๔ ก่อนคริสตกาล)  เพลโต ได้กล่าวไว้ในหนังสือเรื่อง อุดมรัฐ (Republic) ว่ารัฐหรือระบอบการปกครองที่ดีจะต้องมีผู้ปกครองที่มาจากนักปราชญ์ ซึ่งเป็นคนที่มาจากกลุ่มของชนชั้นผู้ปกครองที่มีความรู้ ได้รับการศึกษาอบรมฝึกฝนมาอย่างดี และโดยเฉพาะมีคุณภาพสูง อริสโตเติล ได้เสนอรูปแบบการปกครองในลักษณะ "POLITY" ซึ่งเป็นรูปแบบการปกครองที่จะต้องมีกฎหมายสูงสุดคือ รัฐธรรมนูญกำหนดให้ประชาชนเป็นผู้เลือกตั้งชนชั้นปกครองไปทำหน้าที่ปกครองรัฐ เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมหากประชาชนพบว่า ผู้ปกครองที่ตนเลือกเข้าไปทำหน้าที่บกพร่องหรือทำเพื่อประโยชน์ส่วนตนมิใช่เพื่อประชาชนส่วนรวม ประชาชนก็มีสิทธิเปลี่ยนผู้ปกครองใหม่ได้  ในยุคต่อๆ มา ศาสนจักรได้สร้างทฤษฎีที่ว่า ผู้ที่จะมีอำนาจปกครองรัฐจะต้องเป็นฝ่ายของศาสนจักรเท่านั้น เนื่องจากพระผู้เป็นเจ้าเป็นผู้สร้างและกำหนดทุกสิ่งทุกอย่างตลอดจนความเป็นไปในโลก ฝ่ายศาสนจักรก็คือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากพระผู้เป็นเจ้าให้มาทำหน้าที่ผู้ปกครอง ทฤษฎีนี้เรียกว่า Divine Theory   ต่อมา ฝ่ายอาณาจักรได้พยายามต่อสู้โดยนำเสนอแนวคิดที่ว่า ศาสนจักรควรทำหน้าที่เพียงด้านหลักธรรมคำสอนทางศาสนาเท่านั้น แต่ฝ่ายอาณาจักรนั้น นอกจากจะต้องช่วยดูแลและช่วยเหลือ ฝ่ายศาสนจักรในการส่งเสริมให้ประชาชนปฏิบัติตามหลักธรรมคำสอนทางศาสนาแล้ว ยังจะต้องทำหน้าที่ปกครอง ดูแลทุกข์สุขของประชาชน ให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสันติสุขด้วย ดังนั้นอำนาจเด็ดขาดในการปกครองรัฐจึงควรจะรวมศูนย์อยู่ที่ฝ่ายอาณาจักร จึงเกิดแนวคิดของการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) ขึ้น และถือว่าพระเจ้าเป็นผู้กำหนดขึ้น โดยมอบหมายให้พระมหากษัตริย์เป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองรัฐ ประชาชนมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามคำสั่งของพระมหากษัตริย์ การสืบทอดอำนาจของพระมหากษัตริย์จะต้องอยู่ในรูปของการสืบราชสมบัติเท่านั้น แนวคิดนี้ได้รับการแพร่กระจายไปทั่ว โดยเฉพาะในยุโรป โดยเฉพาะนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศสชื่อ ฌอง โบแดง (Jean Bodin ,ค.ศ. ๑๕๓๐-๑๕๙๗)   การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ได้รับการถ่ายทอดต่อมาจนถึงช่วงศตวรรษที่ ๑๖ โดยเฉพาะนักคิดคนสำคัญทางรัฐศาสตร์คือ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes, ค.ศ. ๑๕๘๘-๑๖๗๙) ชาวอังกฤษ ก็ได้ยืนยันว่าอำนาจสูงสุดเป็นของผู้ปกครองโดยประชาชนเป็นผู้มอบอำนาจนี้ให้ในลักษณะเด็ดขาด แต่ช่วงต่อมา จอห์น ล๊อค (John Locke, ค.ศ. ๑๖๓๒-๑๗๐๔ ) ซึ่งเป็นนักปราชญ์ชาวอังกฤษเช่นกันกลับเห็นว่า จริงๆ แล้วสังคมรัฐจะเกิดไม่ได้เลย ถ้าไม่มีประชาชนและผู้ปกครองรัฐจะอยู่ได้ก็ต่อเมื่อประชาชนยอมรับเท่านั้น โดยเฉพาะต้องปกครองรัฐโดยยึดถือประโยชน์ของประชาชนโดยรวมเป็นที่ตั้ง หากผู้ปกครองทำหน้าที่อย่างไม่ชอบธรรม ประชาชนก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ปกครองจะไม่มีอำนาจเด็ดขาดเหมือนในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แนวคิดของ จอห์น ล๊อค นี้เป็นไปในแนวทางเดียวกับนักปราชญ์ชาวฝรั่งเศส คนสำคัญคือ มงเตสกิเยอ (Mongtesquieu, ค.ศ. ๑๖๘๗-๑๗๕๕) ที่กล่าวถึงหลักสำคัญในการปกครองคือ หลักการแบ่งแยกอำนาจ (Separation des Pouvoirs) ว่าอำนาจในการปกครองรัฐ จะต้องไม่ตกอยู่ในมือของใครคนใดคนหนึ่ง หรือโดยกลุ่มใดกลุ่มเดียว มิฉะนั้นประชาชนจะถูกรังแกไม่ได้รับการดูแล ประชาชนจะเดือดร้อนจากการถูกริดรอนและจำกัดสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ดังนั้นควรแยกอำนาจปกครองออกเป็น ๓ ส่วน แต่ไม่ใช่แยกกันโดยเด็ดขาด แต่จะต้องประสานและถ่วงดุลย์อำนาจกันระหว่าง อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ  แนวคิดของนักปราชญ์คนสำคัญๆ ได้รับการถ่ายทอดตลอดมา ประกอบกับสภาพทางเศรษฐกิจในประเทศต่างๆ ถดถอยลง ประชาชนถูกเอารัดเอาเปรียบจากผู้ปกครองในประเทศสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เกิดความยากจนไปทั่ว แต่ผู้ปกครองกลับสุขสบาย สภาวะดังกล่าวยิ่งส่งผลให้แนวคิดของนักปราชญ์ที่กล่าวถึงแพร่หลายไปในประเทศต่างๆ อย่างรวดเร็ว จนในที่สุดก็เกิดการปฏิวัติในประเทศต่างๆ โดยเฉพาะการปฏิวัติครั้งสำคัญ โดยประชาชนของฝรั่งเศส เมื่อ ค.ศ. ๑๗๘๙ ส่งผลให้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกล้มล้างลง และแทนที่ด้วยระบอบการปกครองที่ยึดหลักว่าอำนาจสูงสุดเป็นของประชาชน ไม่มีผู้ใดหรือกลุ่มใดมีอำนาจเด็ดขาดอีกต่อไปซึ่งเป็นหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตยนั่นเอง



๒.รัฐและรูปแบบของรัฐ
                ๒.๑ รัฐ     ประเทศหรือบางครั้งก็เรียกว่า รัฐ นั้น ถือเป็นองค์รวมทางการเมืองที่มีความสำคัญที่สุด ปัจจุบันมีประเทศต่างๆ กระจายอยู่ทั่วโลกเกือบ ๒๐๐ ประเทศการจะได้ชื่อว่าเป็นรัฐนั้น จะต้องมี ๔ องค์ประกอบครบถ้วน หากขาดองค์ประกอบใดไปก็จะไม่อาจเรียกได้ว่าเป็นรัฐองค์ประกอบสำคัญ ๔ ประการของการเป็นรัฐหรือประเทศคือ
              ๑.  ดินแดน
                ๒.  ประชากร
                ๓.  อำนาจอธิปไตย
                ๔.  องค์กรที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศ
               ๒.๑.๑ ดินแดน ดินแดนเป็นปัจจัยพื้นฐานของการเป็นประเทศ หากไม่มีดินแดนก็คงบอกไม่ได้ว่าประเทศนั้นตั้งอยู่ที่ใดบนโลก และที่สำคัญดินแดนนี้จะต้องเป็นดินแดนที่กำหนดได้แน่นอนชัดเจนว่าอยู่ในทวีปใด ทิศเหนือ ทิศใต้ ทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ติดกับประเทศใด หรือติดกับทะเล หรือมหาสมุทรใด ดินแดนของแต่ละประเทศจะประกอบด้วยดินแดนทางบกทางน้ำและทางอากาศ
             ๒.๑.๒ ประชากร ใน ๔ องค์ประกอบของการเป็นประเทศ หากพิจารณากันอย่างถ่องแท้แล้วจะเห็นว่า ประชากรเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุด ที่จะนำพาให้ประเทศพัฒนาเจริญก้าวหน้าไม่แพ้ประเทศอื่น หรืออาจทำให้เป็นภาระของประเทศจนไม่สามารถพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าเหมือนประเทศอื่น
             ๒.๑.๓ อำนาจอธิปไตย การจะได้ชื่อว่าเป็นประเทศเอกราชได้นั้น จะต้องไม่อยู่ภายใต้อาณัติหรือภายใต้การสั่งการของประเทศอื่น ผู้ปกครองประเทศจะต้องบริหารจัดการดูแลสุขทุกข์ของประชาชนด้วยตนเอง อำนาจอธิปไตยนี้ โดยทั่วไปจะประกอบไปด้วย ๓ ส่วน คือ อำนาจนิติบัญญัติซึ่งเป็นอำนาจของรัฐสภา ทำหน้าที่ออกกฎหมาย อำนาจบริหารซึ่งเป็นอำนาจของรัฐบาลทำหน้าที่บริหารปกครองประเทศ และอำนาจตุลาการซึ่งเป็นอำนาจของศาลทำหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีความต่างๆ ๒ อำนาจหลังนี้จะต้องใช้กฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติตราออกมาเป็นเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่ และแนวคิดนี้ก็เป็นไปตามหลักของมงเตสกิเยอที่ว่าทั้ง๓อำนาจนี้ต้องสัมพันธ์และถ่วงดุลย์กันเสมอ
              ๒.๑.๔ องค์การที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศทุกประเทศจะต้องมีผู้ทำหน้าที่บริหารปกครองประเทศ ซึ่งภาษาอังกฤษใช้คำว่า "Government" แต่มิได้หมายความจำกัดเพียง "รัฐบาล" ซึ่งเป็นฝ่ายบริหารเท่านั้นแต่ยังหมายความรวมถึงฝ่ายนิติบัญญัติและฝ่ายตุลาการด้วย

๒.๒รูปแบบของรัฐ

เมื่อทราบแล้วว่า การจะเป็นประเทศได้นั้น จะต้องมี ๔ องค์ประกอบสำคัญครบถ้วน และในปัจจุบันมีอยู่เกือบ ๒๐๐ ประเทศ กระจายอยู่ทั่วโลกนั้น ทั้งหมดมีรูปแบบแตกต่างกันอย่างไร รูปแบบของรัฐหรือประเทศแบ่งได้เป็น๒รูปแบบใหญ่ๆคือรัฐเดี่ยวและรัฐรวม

             ๒.๒.๑ รัฐเดี่ยว (Unitary State) ทางรัฐศาสตร์จะไม่เรียกว่า ประเทศเดี่ยว แต่จะเรียกว่า รัฐเดี่ยว เป็นรูปแบบที่กำหนดให้มีองค์กรที่ทำหน้าที่บริหารปกครองประเทศเพียงระดับเดียวคือ ระดับประเทศซึ่งมักเรียกกันว่า รัฐบาลกลาง (มิใช่หมายความเฉพาะคณะรัฐบาลเท่านั้น แต่รวมถึงรัฐสภาและศาลด้วย) ซึ่งเป็นองค์กรที่มีอำนาจสูงสุดในการใช้อำนาจอธิปไตยเพื่อบริหารปกครองประเทศ ตัวอย่างของประเทศที่มีรูปแบบรัฐเดี่ยวเช่น ไทย ญี่ปุ่นฝรั่งเศสเป็นต้น
             ๒.๒.๒ รัฐรวม (Composite State) เป็นรูปแบบของประเทศที่ประกอบไปด้วยหลายมลรัฐ เช่น สหรัฐอเมริกา แคนาดา ออสเตรเลีย ซึ่งนอกจากจะมีรัฐธรรมนูญของประเทศแล้ว แต่ละมลรัฐก็จะมีรัฐธรรมนูญของตนเอง

๓. การปกครองและรูปแบบของการปกครอง
             การปกครองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจในความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ๒ กลุ่ม คือ ผู้ปกครองกับผู้อยู่ใต้ปกครองประเทศต่างๆ ไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบของรัฐเดี่ยว หรือรัฐรวม ก็จะเลือกรูปแบบของการปกครองแบบหนึ่งแบบใดใน ๒ แบบนี้ คือ แบบเผด็จการหรือแบบประชาธิปไตย

๓.๑ เผด็จการ
              เป็นรูปแบบการปกครองที่อำนาจในการตัดสินใจทุกเรื่องเกี่ยวกับการบริหารปกครองประเทศขึ้นอยู่กับวินิจฉัยของบุคคลเพียงคนเดียวหรือกลุ่มเดียว โดยไม่มีฝ่ายที่ทำหน้าที่กำกับดูแล ลักษณะของเผด็จการอาจเกิดจากการที่ทหารทำปฏิวัติล้มล้างรัฐบาลเดิมแล้วตั้งตนเป็นผู้ปกครองสูงสุด เป็นเรื่องของการแย่งชิงอำนาจและผลประโยชน์มหาศาลของประเทศ เผด็จการลักษณะนี้ผู้ปกครองจะเอาเปรียบประชาชนทุกเรื่อง แม้แต่สิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนก็จะถูกริดรอน เผด็จการแบบนี้เรียกว่าเผด็จการแบบอำนาจนิยม ยังมีเผด็จการอีกแบบหนึ่งเรียกว่า เผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ ซึ่งมีอยู่ ๒ ขั้วคือ เผด็จการขวาจัดที่เน้นเรื่องชาตินิยมและต่อต้านต่างชาติเป็นหลักกับเผด็จการซ้ายจัดที่เน้นความสำคัญและชัยชนะของชนชั้นกรรมกรและชาวนาเป็นหลัก

๓.๒ประชาธิปไตย

                 เป็นรูปแบบการปกครองที่ยึดหลักสำคัญว่าอำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชน ดังนั้น ประชาชนจะต้องมีส่วนร่วมในการบริหารปกครองประเทศไม่โดยตรงก็โดยอ้อม ประชาธิปไตยให้ความสำคัญแก่ประชาชนทุกคนโดยเฉพาะให้ความเคารพต่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่างมาก และรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ จะต้องบัญญัติไว้ชัดเจนว่าประชาชนมีความเสมอภาคเท่าเทียมกันทุกคน ไม่ว่าจะเป็นผู้ชายหรือผู้หญิง จนหรือรวย และสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนจะต้องได้รับการรับรองไว้โดยรัฐธรรมนูญและกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างชัดเจน ในกรณีที่ต้องมีการตัดสินใจร่วมกันของประชาชน เช่น การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือวุฒิสมาชิก ก็จะใช้มติของเสียงข้างมากเป็นเครื่องตัดสิน
การปกครองแบบประชาธิปไตยนี้ การเมืองกับเศรษฐกิจมีความสัมพันธ์กันอย่างมากคือต้องมีการแบ่งปันทรัพยากร กระจายรายได้และบริการ ซึ่งมีอยู่อย่างจำกัดให้สามารถสนองตอบความต้องการของประชาชนได้อย่างเหมาะสมและทั่วถึง สมัยนี้มีการพูดถึงธรรมรัฐที่แปลมาจากภาษาอังกฤษว่า Good Governance กันมาก และเป็นคำที่ใช้อธิบายถึงการบริหารปกครองของรัฐบาลที่เน้นประโยชน์ของประชาชนโดยรวม เน้นการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โปร่งใส ตรวจสอบได้ รัฐบาลที่บริหารจัดการด้วยหลักธรรมรัฐ จะได้รับการยอมรับจากประชาชนเสมอ เพราะสามารถตอบสนองความต้องการของประชาชนโดยรวมได้อย่างทั่วถึงและยุติธรรม ประเทศที่พัฒนาก้าวหน้ามาก มักจะมีรัฐบาลที่ยึดหลักธรรมรัฐในการบริหารปกครองประเทศ เช่น อเมริกา ฝรั่งเศส อังกฤษ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย สิงคโปร์ เป็นต้น

๔.รัฐบาลและรูปแบบของรัฐบาล
             ทุกประเทศไม่ว่าจะมีรูปแบบการปกครองแบบเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็จะต้องมีผู้ปกครองประเทศที่ทำหน้าที่บริหารจัดการเงิน ทรัพย์สิน และทรัพยากรทุกชนิดที่อยู่ในประเทศและปกครองประชาชนให้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข องค์กรที่ทำหน้าที่นี้โดยตรงก็คือ รัฐบาล ในหน้าที่ที่กล่าวถึงจะเห็นได้ว่ารัฐบาลจะต้องมีเจ้าหน้าที่และเงินงบประมาณจำนวนมากและมีอำนาจอย่างกว้างขวาง จึงจะสามารถปฏิบัติหน้าที่ได้ ดังนั้น ภาวะการเป็นผู้นำในการบริหารปกครองประเทศนี้ จึงเป็นสิ่งที่คนทั่วไปแสวงหา และโดยเฉพาะนักการเมืองล้วนพยายามทำทุกอย่างเพื่อให้ได้เป็นรัฐบาล

๔.๑ รัฐบาล
             ดังที่ได้กล่าวมาแล้วว่า อำนาจอธิปไตยแยกเป็น ๓ ส่วน คือ ฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร และฝ่ายตุลาการ และฝ่ายที่ทำหน้าที่บริหารและปกครองโดยตรงก็คือ ฝ่ายบริหารหรือรัฐบาลโดยคณะรัฐมนตรีนั่นเอง
รัฐบาลจะต้องจัดสรรทรัพยากรของประเทศให้ประชาชนทั้งประเทศได้รับประโยชน์ทุกเรื่อง จะต้องดูแลบริหารกิจการภายในประเทศให้ประชาชนอยู่ร่วมกันอย่างสงบสุข ต้องปกป้องประเทศให้ปลอดภัยจากการคุกคามของประเทศอื่น และต้องดำเนินความสัมพันธ์กับต่างประเทศให้ประเทศของตนสามารถอยู่ร่วมกับประเทศอื่นในประชาคมโลกได้อย่างมีเกียรติ

๔.๒ รูปแบบของรัฐบาล
             ทั้งกว่า ๒๐๐ ประเทศที่มีอยู่ในขณะนี้จะเลือกรูปแบบของรัฐบาลอย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ รูปแบบนี้คือ รัฐบาลแบบประธานาธิบดี รัฐบาลแบบกึ่งประธานาธิบดี และรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี
             ๔.๒.๑ รัฐบาลแบบประธานาธิบดี ประเทศที่เป็นต้นแบบของรัฐบาลแบบประธานาธิบดีคือ สหรัฐอเมริกา ประเทศที่มีรัฐบาลแบบประธานาธิบดีจะถือว่าประธานาธิบดีและสถาบันประธานาธิบดีเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของประเทศ รัฐธรรมนูญจะกำหนดใช้อย่างชัดเจนว่า ประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกตั้งมาจากประชาชนนั้น เป็นทั้งประมุขของประเทศและเป็นผู้บริหารสูงสุด อำนาจในการตัดสินใจเป็นของประธานาธิบดีแต่ผู้เดียว เราจึงไม่พบคำว่า "รัฐมนตรี" ในรัฐบาลแบบนี้ แต่จะพบคำว่า "เลขานุการของประเทศ" หรือ "เลขานุการของประธานาธิบดี" แทน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้บริหารทุกกิจการของประเทศ
สำหรับฝ่ายนิติบัญญัตินั้น ประกอบไปด้วย วุฒิสภา และสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกของทั้ง ๒ สภา จะได้รับการเลือกตั้งมาจากประชาชน เพื่อทำหน้าที่หลักในการออกกฎหมายเพื่อให้ฝ่ายบริหารนำไปใช้ในการบริหารประเทศ และทำหน้าที่ควบคุมการบริหารให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายต่างๆ อย่างไรก็ตามหากประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขและผู้นำสูงสุดของประชาชนเห็นว่าร่างกฎหมายที่ฝ่ายนิติบัญญัติเสนอ จะไม่เป็นผลดีแก่ประเทศโดยรวม ก็อาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) กฎหมายฝ่ายนั้นได้ แต่ประธานาธิบดีไม่มีอำนาจยุบสภา
             ๔.๒.๒ รัฐบาลแบบกึ่งประธานาธิบดี ประเทศที่เป็นต้นแบบรัฐบาลแบบกึ่งประธานาธิบดีคือ ฝรั่งเศส ซึ่งมีรัฐบาลแบบนี้มาตั้งแต่ ค.ศ. ๑๙๕๘ ซึ่งเป็นปีแรกของ "สาธารณรัฐที่ ๕" ของฝรั่งเศสที่อดีตประธานาธิบดี ชาลส์ เดอ โกลล์ (Charles De Gaulles) สถาปนาขึ้นใหม่ เนื่องจากในอดีตจนถึงสาธารณรัฐที่ ๔ ฝ่ายนิติบัญญัติมีอำนาจมากกว่าฝ่ายบริหาร รัฐบาลมาจากหลายพรรค ขาดเสถียรภาพ ทำให้ถูกควบคุมโดยฝ่ายนิติบัญญัติอย่างสิ้นเชิงส่งผลให้การบริหารและแก้ปัญหาของประเทศเป็นไปอย่างเชื่องช้าติดขัด ประธานาธิบดี ชาลส์ เดอ โกลล์ จึงเสนอแนวคิดให้ฝ่ายบริหารมีอำนาจและบทบาทเหนือฝ่ายนิติบัญญัติกำหนดให้มีประธานาธิบดีเป็นประมุขของประเทศและบริหารประเทศบางส่วน แต่การบริหารส่วนใหญ่จะเป็นหน้าที่ของนายกรัฐมนตรี หากมีปัญหาขัดแย้งระหว่างฝ่ายบริหารกับฝ่ายนิติบัญญัติ ประธานาธิบดีจะเป็นผู้ตัดสินประธานาธิบดี ซึ่งเป็นประมุขของประเทศและเป็นผู้นำของฝ่ายบริหารนั้นได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชน เป็นผู้กำหนดนโยบายของชาติ มีอำนาจพิเศษซึ่งถือเป็นสิทธิเด็ดขาดคือมีอำนาจฉุกเฉินในการตัดสินใจใดๆเมื่อเกิดภัยคุกคามแก่ประเทศมีสิทธิขอให้ประชาชนทำประชามติในร่างกฎหมายสำคัญๆ ได้
             ๔.๒.๓ รัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี ประเทศต้นแบบของรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีคือ อังกฤษ ประมุขของประเทศที่มีรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี อาจเป็นพระมหากษัตริย์ พระราชินี พระจักรพรรดิ หรือประธานาธิบดีก็ได้ขึ้นอยู่กับแต่ละประเทศ หลักสำคัญก็คือประมุขจะเป็นเพียงสัญลักษณ์ของประเทศ จะไม่ทำหน้าที่บริหารหรือปกครองประเทศ  ฝ่ายบริหารคือ คณะรัฐมนตรี มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้นำรัฐบาลและมีรัฐมนตรีจำนวนหนึ่ง คณะรัฐมนตรีได้รับการแต่งตั้งจากสมาชิกรัฐสภา  ส่วนฝ่ายนิติบัญญัติหรือรัฐสภานั้นประกอบด้วยสภาขุนนางและสภาผู้แทนราษฎร ประเทศอื่นๆ ที่เอารูปแบบรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรีที่มีอังกฤษเป็นต้นแบบไปใช้มักจะแทนที่สภาขุนนางด้วยวุฒิสภา ซึ่งการได้มาซึ่งวุฒิสมาชิกนั้น อาจมาจากการเลือกตั้งจากประชาชนหรือจากการแต่งตั้งจากประมุขของรัฐหรือหัวหน้ารัฐบาล แต่มีแนวโน้มว่าจะมาจากการเลือกตั้งโดยประชาชนมากขึ้น ส่วนสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรนั้นได้รับเลือกตั้งโดยตรงมาจากประชาชน

สรุป
           ๑. การเมืองการปกครอง เป็นเรื่องของอำนาจในการบริหารจัดการทรัพยากรทุกชนิดของประเทศให้ประชาชนได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึงและยุติธรรม ประชาชนในประเทศสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข สันติ ดังนั้นผู้ปกครองที่มีความสามารถในการบริหารจัดการเท่านั้น จึงจะได้รับการยอมรับจากประชาชน ผู้ปกครองที่ทำเพื่อความสุขสบายส่วนตนหรือของพวกพ้อง โดยทอดทิ้งประชาชนซึ่งเป็นผู้เสียภาษีให้รัฐจะถูกต่อต้านและถูกล้มล้างไปเหมือนที่ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ถูกล้มล้างลง
           ๒. ดินแดน ประชากร อำนาจอธิปไตย และองค์กรที่ทำหน้าที่ปกครองประเทศเป็น ๔ องค์ประกอบหลักของการเป็นประเทศเอกราช ทั้งนี้ไม่ว่าประเทศเอกราชนั้นจะมีลักษณะเป็นรัฐเดี่ยวหรือรัฐรวมก็ตาม
           ๓. โดยทั่วไปสิ่งที่ประชาชนต้องการก็คือความเป็นอยู่ที่สันติ สงบสุขในประเทศ มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน มีสิ่งจำเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตตามยุคสมัย ดังนั้นหากผู้ปกครองตอบสนองความต้องการเหล่านี้แก่ประชาชนได้ ประชาชนก็จะให้การยอมรับและสนับสนุน และในทางตรงกันข้าม หากประชาชนไม่ได้รับการตอบสนองและถูกกดขี่ข่มเหงจากผู้ปกครอง ประชาชนก็จะต่อต้านอย่างรุนแรง ทั้งนี้ไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองแบบเผด็จการหรือประชาธิปไตยก็ตาม
           ๔. รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่ได้รับมอบอำนาจไปจากประชาชนเพื่อทำหน้าที่บริหารและปกครองประเทศเพื่อประชาชนโดยรวม เนื่องจากแต่ละประเทศมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครอง ที่สืบเนื่องมาอย่างแตกต่างกัน จึงเกิดรัฐบาลหลายรูปแบบ ซึ่งในปัจจุบันมีอยู่ ๓ รูปแบบคือ รัฐบาลแบบประธานาธิบดี รัฐบาลแบบกึ่งประธานาธิบดี และรัฐบาลแบบคณะรัฐมนตรี
 หมายถึง นักปรัชญาการเมืองสมัยยุโรปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของศาสนาคริสต์ ดังนั้น ความรู้สึกต่อรัฐของนักปรัชญาการเมืองตะวันตกสมัยกลาง จึงเป็นไปในทางลบ และมองเห็นว่ารัฐเป็นความชั่วร้าย ศาสนจักรจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่ารัฐและควรเป็นฝ่ายควบคุมรัฐ ตัวอย่างของนักปรัชญาการเมืองสมัยกลาง คือ เซนต์ ออกัสติน อย่างไรก็ตาม หลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรป ความคิดเรื่องปัจเจกบุคคลและสิทธิของบุคคลเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่ง แนวโน้มทางความคิดดังกล่าวเปลี่ยนแปลงไปสู่ความคิดที่ว่า รัฐต้องเป็นสิ่งที่เป็นอิสระจากการควบคุมหรือพ้นจากอิทธิพลของอำนาจภายนอก เช่น ศาสจักร ตัวอย่างเช่น ความคิดของมาเคียเวลลี่ เป็นต้น






แมคเคียเวลลีมีชื่อเต็มว่า นิคโคโล ดี แบร์นาโด แมคเคียเวลลี เกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ ในอิตาลี เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ.1469 เขาเริ่มเข้าเรียนหนังสือเมื่ออายุ 7 ขวบ และเมื่อเขาอายุได้ 12 ปี จึงได้ไปศึกษากับครูผู้มีชื่อเสียงคือ เปาโล ดารอนซิกลีโอนี และในที่สุดแมคเคียเวลลีก็ได้เข้าไปศึกษาในมหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์ โดยมีอาจารย์คนสำคัญที่ให้การศึกษาในวิชาคลาสิกแก่เขาคือ มาร์เซลโล อเดรียนี ซึ่งต่อมากลายเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในฟลอเรนซ์
       ค.ศ.1498 แมคเคียเวลลีก็เข้ารับราชการซึ่งเป็นเพียงไม่กี่วันหลังการประหารจิโรลาโม สาโวนาโรลา ในค.ศ. 1498 แมคเคียเวลลีก็ได้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับกิจการภายใน และภายนอกของนครฟลอเรนซ์ ซึ่งรวมถึงการสงครามและการป้องกันนครด้วย เขายังมีส่วนช่วยให้สาธารณรัฐฟลอเรนซ์มีเสถียรภาพ ทั้งๆที่การเปลี่ยนแปลงตัวบุคคลผู้อยู่ในตำแหน่งราชการเวลานั้นเป็นไปอย่าง รวดเร็วยิ่ง
          ในระหว่าง 14 ปีนี้ เขาก็ได้กลายเป็นนักสังเกตการณ์ทางการเมืองที่หลักแหลมและเนื่องจากทำงานใน ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการระหว่างประเทศ แมคเคียเวลลีซึ่งมีโอกาสเดินทางหลายครั้ง เขาเคยไปนครปารีสและได้พบบุคคลสำคัญร่วมสมัยเป็นอันมาก ในค.ศ.1502 เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งทำให้ ซอเดอรินี ขึ้นมามีอำนาจ ซอเดอรินีโปรกปราน แมคเคียเวลลี ดังนั้นเมื่อแมคเคียเวลลี เสนอให้ฟลอเรนซ์ใช้กองทหารแห่งชาติแทนกองทหารจ้างในปีค.ศ.1506 ซอเดอรินีก็ยินยอม แต่ความสัมพันธ์กับซอเดอรินีผู้ทรงอำนาจนั้นก็มีภัยเช่นกัน เพราะเมื่อรัฐบาลสาธารณรัฐถูกโค่นล้มและตระกูลเมดีซีกลับมาครองอำนาจใน ฟลอเรนซ์ แมคเคียเวลลีก็เดือดร้อนไปด้วย เขาถูกปลดจากทุกตำแหน่งเมื่อ 15 พฤศจิกายน ค.ศ.1512 ส่วนซอเดอรินีก็ได้หนีไป
  นิกโกโล มาคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) นักปรัชญาการเมืองชาวอิตาลี เกิดที่กรุงฟลอเรนซ์ เริ่มรับราชการเป็นเลขาธิการฝ่ายการทูตในปี 2037 การงานก้าวหน้าขึ้นเรื่อย ๆ จนได้เป็นหนึ่งในคณะทูตไปเจรจากับพระเจ้าหลุยส์ ที่ 12 (Louis XII) แห่งฝรั่งเศส และนักการเมืองคนสำคัญ ๆ อยู่เสมอ ระหว่างทำงานที่นี่เขาได้สังเกตธรรมชาติทางการเมืองของมนุษย์มาตลอด เขาเขียนจดหมายและหนังสือหลายเล่ม ผลงานที่สำคัญที่สุดคือ เจ้าผู้ปกครอง (The Prince) ซึ่งสนับสนุนแนวคิดที่ว่า "อำนาจการเมืองย่อมไม่สนใจศีลธรรม" ประชาชนจึงต้องระมัดระวังในการที่จะมอบสวัสดิภาพของตนให้อยู่ในมือของคนคนเดียว เพราะผู้เป็นทรราชนั้นหากไม่เห่อเหิมจนเกินเลย ก็ย่อมจะเกรงกลัวภัยที่จะคุกคามตนเอง จึงต้องทำทุกอย่างเพื่อตนเองมากกว่าปฏิบัติเพื่อประชาชน เขาเป็นคนแรกที่วางพั้นฐานของความคิดทางการเมืองด้วยการศึกษาธรรมชาติของมนุษย์ ต่อมาเขาได้รับการยกย่องว่าเป็น บิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่
 เจ้าผู้ปกครองจะต้องเลียนแบบหมาจิ้งจอกและสิงห์โต ด้วยว่าสิงห์โตไม่อาจปกป้องตัวเองจากกับดัก และหมาจิ้งจอกไม่อาจป้องกันตัวเองจากหมาป่า ดังนั้นเราต้องเป็นหมาจิ้งจอกในการระแวดระวังกับดัก และเป็นสิงห์โตเพื่อที่จะทำให้หมาป่ากลัว"




นิคโคโล่ มาเคียเวลลี
ที่ได้กล่าวเช่นนี้อาจจะดูเกินจริงไปเพราะคงมีนักการเมืองอีกค่อนโลกที่ไม่รู้จักเสียด้วยซ้ำว่าเขาเป็นใคร แต่รับประกันได้นักการเมืองไม่ว่าประเทศไหนไม่ว่าจะเป็นทรราชย์อย่างเช่น มุสโสลินี ฮิตเลอร์ สตาลินหรือเหมา เจ๋อ ตง เลนิน หรือรัฐบุรุษเช่น เชอร์ชิลล์ แท็ชเชอร์ (รัฐสตรี ?) หรือประธานาธิบดีสหรัฐฯเช่น รุสเวลส์ยันบุชพ่อลูก เยลต์ซิน ปูติน ซูฮาร์โต้ ทักษิณ สุรยุทธ์ หรือ สนธิ (บัง)ฯลฯ ล้วนแต่ดำเนินตามทฤษฎีของเขาทั้งนั้นอาจจะโดยบังเอิญและอาจจะไม่ตรงเสียทีเดียวเพราะแต่ละคนจะต้องปรับกลยุทธไปตามสิ่งแวดล้อมและสถานการณ์ของตน ทั้งสำเร็จบ้างไม่สำเร็จจนไปถึงล่มจมตามกรณีไป แถมไม่นับนักปรัชญาการเมืองชื่อดังของโลกที่ได้รับอิทธิพลจากเขาอย่างมหาศาลซึ่งเราจะยกไปกล่าวในตอนท้ายของบทความ สำหรับพวกเราที่รู้จักภาษาอังกฤษดีก็จะสะดุดตากับคำว่า machiavellian ที่เป็นคำคุณศัพท์แปลว่า "รอบจัด" หรือ "เจ้าเล่ห์" (อาจจะแปลได้อีกคำคือ"สาวกของมาเคียเวลลี")ซึ่งก็บอกอะไรหลายอย่างเกี่ยวกับตัวเขาคนนี้ได้ดี แม้จะไม่ใช่ทั้งหมด ชายคนนี้ผู้ได้ชื่อว่าเป็นบิดาแห่งรัฐศาสตร์สมัยใหม่ (ส่วนสมัยเก่าคืออาริสโตเติ้ล) และเป็นนักคิดคนสำคัญของทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่เรียกว่าสัจนิยมหรือrealism เขาคือนิคโคโล่ มาเคียเวลลี (Niccolo Machiavelli)
   มาเคียเวลลีเกิดเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ปี 1469 ณ หมู่บ้าน ซาน คาสเชียโน่ อิน วาล ดิ เปซา ใกล้นคร ฟลอเรนซ์ อิตาลี ซึ่งในสมัยนั้นยังไม่ได้เป็นประเทศอย่างที่เราเห็น หากแบ่งแยกเป็นนครรัฐ (city-State)มากมาย บิดาของเขาเป็นนักกฏหมายซึ่งน่าจะมีฐานะดีจนสามารถส่งเขาไปเรียนที่มหาวิทยาลัยฟลอเรนซ์และกับปราชญ์ชื่อดังจนมีความรู้อย่างดีในด้านภาษาละตินและปรัชญามนุษย์นิยม (Humanism)ที่เฟื่องฟูในยุคการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมของยุโรป (Renaissance) อย่างมาก สองแนวนี้ถือได้ว่าเป็นรากฐานทางปรัชญาการเมืองของเขาเลยก็ว่าได้ ยุคที่มาเคียเวลลีเกิดมานี้แสนจะวุ่นวาย ถือได้ว่าเป็นยุคแห่งการล่มสลายของอาณาจักรโรมันศักดิ์สิทธิ์ อันเกิดจากสงครามระหว่างกรุงโรมศักดิ์สิทธิ์และพันธมิตรแห่งคอนยัคซึ่งประกอบด้วยนครรัฐของอิตาลีเช่นมิลาน เวนิส ฟลอเรนซ์ ฝรั่งเศส ฯลฯ บรรยากาศเหล่านี้ย่อมเป็นตัวกำหนดโลกทัศน์ของมาเคียเวลลีเกี่ยวธรรมชาติของมนุษย์ได้อย่างดี ในวันหนุ่ม เขาเข้าทำงานเป็นเสมียน ได้เป็นเลขานุการและได้เป็นทูตตัวแทนของเมืองฟลอเร็นซ์ไปเจริญสัมพันธ์ไมตรีกับแคว้นต่างๆ และรับผิดชอบกองกำลังรักษารัฐ บางแหล่งว่าเขาได้เป็นถึงรัฐมนตรีของนครฟลอเรนซ์ ในช่วงที่มาเคียเวลลีกำลังดวงขึ้นอยู่ขณะนี้ ขอย้อนกลับไปว่า นครฟลอเร็นซ์เมื่อก่อนนั้นเคยถูกปกครองโดยตระกูลเมดิชีอันทรงอิทธิพล แต่แล้วประชาชนก็พร้อมใจกันขับไล่ตระกูลนี้ออกไปในปี 1494 และเปลี่ยนการปกครองเป็นสาธารณรัฐ แต่แล้วในปี 1512 ตระกูลนี้ก็กลับมายึดนครฟลอเรนซ์ได้อีกครั้ง มาเคียเวลลีซึ่งเคยทำงานต่อต้านตระกูลนี้มาก่อนจึงถูกจำกุม ถูกกล่าวหาและถูกทรมาณจนปางตายในหนึ่งปีหลังจากนั้นว่ากันว่าผู้คุมไปลอกวิธีการทรมาณมาจากยุคกลางเช่นจับนักโทษมัดขาแล้วห้อยขึ้นสูงจากพื้นพอประมาณ ก่อนจะปล่อยลงอย่างแรงๆ
โชคชะตายังเมตตาที่เขาได้รับการปล่อยตัวออกมาจึงลี้ภัยไปอยู่ที่บ้านไร่ชายทุ่งนอกเมืองฟลอเร็นซ์ซึ่งได้กลายเป็นเวลาอันเหมาะสมสำหรับผลิตงานทางวรรณกรรมถึงแม้ก่อนหน้านั้นเขาก็ได้เขียนงานออกมาแล้วมากมายไม่ว่างานวิชาการ ร้อยแก้วร้อยกรอง บทละคร ที่สำคัญคือ Discourses on Livy (ถูกเขียนในช่วง 1512-1517) งานชิ้นสำคัญที่สุดของเขาที่บ้านไร่ชายทุ่งคือ The Prince ถูกเขียนในปลายปี 1513 เขาผลิตหนังสือเล่มนี้ขึ้นมาเพื่อหวังจะได้กลับไปรับราชการอีกครั้งหลังจากที่พรรคพวกในรัฐบาลของสาธารณรัฐหลายคนได้รับโอกาสเช่นนี้จากตระกูลเมดิชีแต่จนแล้วจนเล่าก็ได้เสียทีเลยเขียนหนังสือออกมาเรื่อยๆ เช่น The Art of War (จนมีคนนำไปเปรียบเทียบกับแนวคิดของซุ่นจื้อ ปราชญ์ทางด้านสงครามชื่อดังของจีนที่มีชื่อหนังสือคล้ายกัน) จนเมื่อปี 1520 มาเคียเวลลีก็ได้รับคำบัญชาจากคาร์ดินัล กุยลิโอ้ เดอเมดิชีให้เขียนประวัติของนครฟลอเรนซ์ ใช้เวลาห้าปี จากนั้นเขาก็เริ่มได้งานจากรัฐบาลของเมดิชี แต่ถึงแก่กรรมเสียก่อนในปี 1527หนังสือชิ้นสำคัญที่สุดของมาเคียเวลลีคือ The Prince เป็นหนังสือที่มาเคียเวลลีเร่งเขียนเพราะต้องการจะไปนำเสนอให้กับกุยลิโน่ เดอเมดิชี แต่เจ้าองค์นี้ถึงแก่กรรมเสียก่อน กว่าที่โลเรนโซ่ เดอ เมดิชี เจ้าคนใหม่ซึ่งเขาอุทิศให้จะได้อ่านงานชิ้นนี้ก็ปาเข้าไป 1516 หนังสือเล่มนี้ มาเคียเวียลลีต้องการเสนอ แนะวิธีในการปกครองนครของเจ้า ซึ่งทำให้เขานั้นกลายเป็นบิดาแห่งบิดารัฐศาสตร์ยุคใหม่ นั้นคือในยุคก่อนหน้านั้นแนวคิดทางการเมืองอิงอยู่กับยุคกลาง (Medieval Age) ซึ่งให้คุณค่าแก่เรื่องคุณธรรม ศีลธรรม และอำนาจของพระผู้เป็นเจ้า แต่ "เจ้าผู้ปกครอง" ของมาเคียเวลลีกลับเป็นการเน้นไปที่เรื่องของฆารวาสล้วนๆ นั้นคือ หนังสือเล่มนี้ถูกแปลเป็นภาษาไทยภายใต้ชื่อ"เจ้าผู้ปกครอง"โดย สมบัติ จันทรวงศ์ ดังนั้นคำว่า Prince ไม่ได้หมายถึง "เจ้าชาย"ตามความหมายทั่วไป หากหมายถึง ผู้ปกครองรัฐในสมัยนั้น จึงขอใช้
ชื่อไทยเพราะมันตรงมากกว่า(แต่ผู้เขียนยังไม่ได้อ่านฉบับภาษาไทย ซื้อมานานจนมอดกินไปแล้ว)
ต่อไปนี้คือแนวคิดสำคัญบางส่วนมาเคียเวลลีเห็นว่าธรรมชาติของมนุษย์นั้นเต็มไปด้วยความเห็นแก่ตัว โกหก หลอกลวง ทะเยอทะยาน เปลี่ยนไปเปลี่ยนมาขึ้นอยู่กับผลประโยชน์ของตัวเอง ดังนั้นการที่เจ้าจะปกครองมวลชนได้ก็ต้องใช้อำนาจ แน่นอนว่ามาเคียเวลลีต้องการเอาใจพวกเมดิชี ดังนั้นเขาจึงยกย่องการปกครองแบบราชาธิปไตยอันมีการสืบต่อตำแหน่งทางสายเลือดไม่ใช่การแต่งตั้งหรือเลือกตั้ง/คุณธรรมอันประเสริฐสุดไม่ใช่แบบตามแบบคริสตศาสนาในยุคกลางหากแต่หมายถึงรัฐที่มีเสถียรภาพและทรงเกียรติ เจ้าผู้ปกครองจึงต้องใช้ทุกวิถีทางในการปกป้องรัฐแม้ว่ามันจะ(ภาพวาดนครฟลอเรนซ์ในศตวรรษที่สิบห้า)
โหดร้ายเพียงไหนก็ตาม แน่นอนมันย่อมหมายถึงเสถียรภาพของอำนาจตัวเองด้วย แต่เจ้าผู้ปกครองต้องไม่เป็นที่เกียจชังเพราะจะทำให้ตนต้องล่มจม กระนั้นเจ้าผู้ปกครองต้องไม่ที่รักเพราะเปี่ยมด้วยความเมตตา เพราะความเมตตาจะนำปัญหามากมายมาสู่ภายหลัง เขาควรจะเป็นที่ได้รับความเกรงกลัวและเป็นที่รักจากการทำตัวให้ดูเป็นคนดี มีศีลธรรม มากกว่าเป็นคนดีจริงๆ เพราะสักวันเขาอาจจะทำอะไรบางอย่างที่ตรงข้ามกับความเป็นคนดีของตน แต่ท้ายสุดถ้าจะให้เลือกแล้วเขาควรที่จะถูกกลัวเสียมากกว่าถูกรัก
มาเคียเวลลีเองได้วิพากษ์ศาสนจักรซึ่งสุดแสนจะฉ้อฉลมาตั้งแต่ยุคกลางจนมาถึงยุคของเขานั้นคือยุคฟื้นฟูศิลปะวัฒนธรรม ดังนั้นศาสนาจึงไม่ใช่ความกลัวต่อพระเจ้าหากแต่เป็นสิ่งที่ยึดเหนี่ยวสำหรับประชาชนให้ประพฤติตัวดีมีศีลธรรม และยังมีความมุ่งมั่น พร้อมใจในการปกป้องนครจากศัตรู เจ้าผู้ปกครองควรที่จะสนับสนุนศาสนาเพื่อเป็นการดำรงไว้ซึ่งอำนาจของตัวเอง/เมื่อมนุษย์ (และรัฐ)เต็มไปด้วมความชั่วร้าย แก่งแย่งชิงดีกัน มาเคียเวลลีจึงให้ความสำคัญแก่สงครามมาก สงครามเป็นสิ่งที่เจ้าผู้ปกครองต้องศึกษาไว้ให้ดี ต้องทำให้นครของตนมีกองทัพอันยิ่งใหญ่ หรืออย่างน้อยตัวนครต้องมีความแข็งแรง สามารถปกป้องและพึ่งพิงตัวเองได้โดยไม่ต้องพึ่งทหารรับจ้างและทหารจากรัฐอื่น ซึ่งอาจทำให้อำนาจของเจ้าผู้ปกครองนครต้องสูญเสียไป /เจ้าผู้ปกครองควรจะมีที่ปรึกษาหลายคนเพราะคนเหล่านั้นย่อมให้ข้อเสนอแนะที่แตกต่างตามแต่สันดานและผลประโยชน์ของตน ดังนั้นเจ้าควรจะครุ่นคิดพิจารณาให้ถ่องแท้ /มาเคียวเลลี่เห็นว่าเจ้าผู้ปกครองควรจะมีเจตจำนงอิสระในการตัดสินใจบริหารราชการด้วยตัวเอง ถึงเขาจะมีฝีมือความสามารถแต่ก็ยังต้องพึ่งลิขิตฟ้าที่หาความแน่นอนไม่ได้แต่เป็นตัวกำหนดชะตาของตนและรัฐเสียครึ่งหนึ่ง ดังนั้นเจ้าผู้ปกครองจึงควรที่จะปรับเปลี่ยนและหยิบฉวยลิขิตฟ้านั้นเพื่อเป็นประโยชน์แห่งตน ฯลฯ
             ด้วยแนวคิดที่ว่า "เจ้าผู้ปกครองจะต้องทำทุกวิธีทางในการทำรักษาอำนาจของตน"เลยเถิดกลายเป็นคาถาประจำใจของนักการเมืองไปเสีย นั้นคือมุ่งแสวงหาผลประโยชน์ของตน และอ่านดูให้ดีจะเห็นนักการเมืองเลวๆ ก็มีพฤติกรรมอย่างที่เห็นข้างบนอยู่หลายข้อถึงแม้พวกเขาอาจจะไม่เคยอ่าน "เจ้าผู้ปกครอง" มาก่อน แต่คิดว่าเมื่อได้มาอ่านแล้วคงหัวร่อชอบใจเอาไปใช้ในชีวิตการเมืองอันแสนโสโครกของตัวเองต่อไป มาเคียเวลลีจึงถูกมองจากชาวโลกส่วนใหญ่ว่าเป็นนักปรัชญาที่แสนชั่วร้าย ปัจจุบันมีนักวิชาการมากมายออกมาแก้ต่างให้ว่าที่ความจริงแล้ว นักปรัชญาชาวอิตาเลี่ยนผู้นี้มุ่งเน้นไปที่เรื่อเสถียรภาพของรัฐหรือส่วนรวมมากกว่าผลประโยชน์ส่วนตัวเพียงแต่เขามองธรรมชาติของมนุษย์ในแง่ร้าย เย็นชาเท่านั้น นอกจากนี้ หนังสือของมาเคียเวลลีที่ชาวโลกมักจะหลงลืมคือ Discourses on Livy (ชื่อเต็มคือ Discourses on the First Ten Books of Titus Livy ) ขนาดสามเล่มใหญ่ ที่มาเคียเวลลีกลับไปศึกษาลักษณะการเมืองของอาณาจักรโรมัน เป็นสิ่งที่แสดงถึงความศรัทธาของเขาในเรื่องสาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งมีรัฐบาลที่ขึ้นอยู่กับการยอมรับและการมีส่วนร่วมของประชาชนระดับรากหญ้าอันมีลักษณะเป็นประชาธิปไตยอันแตกต่างกับ"เจ้าผู้ปกครอง" ที่เน้นการปกครองจากคน ๆ เดียว เขาจึงเป็นนักปรัชญาที่มีสองแนวคิดคู่แฝดขนานกันไป Discourses on Livy เขากลั่นมันมาจากความคิดในเชิงอุดมคติ ส่วน "เจ้าผู้ปกครอง" เป็นหนังสือที่ทำให้เขากลายเป็นบิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ยุคใหม่เพราะทฤษฎีทั้งหลายในนั้นล้วนเกิดจากการสังเกตการณ์ล้วนๆ ในขณะที่แนวคิดทางการเมืองก่อนหน้านั้นใช้วิธีการนั่งคิดเอาเอง
(โลเรนโซ่ เดอ เมดิชี ที่มาเคียเวลลีได้อุทิศ "เจ้าผู้ปกครอง" ให้)
แนวคิดของมาเคียเวลลีโดยเฉพาะใน "เจ้าผู้ปกครอง" ได้มีอิทธิพลต่อนักคิดจำนวนมากในยุคหลังไม่ว่าโทมัส ฮอบส์ (ทั้งคู่จึงกลายเป็นนักปรัชญาที่ทรงอิทธิพลต่อทฤษฎีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ),ญอง-ญาค รุสโซ นักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส, ฟริดริก นิชเช่ (แนวคิดที่ว่า "พระเจ้าตายแล้ว") ,นักปรัชญามาร์กซิสต์เช่น อันโตนีโอ กรามส์ชี่ , ลีโอ สตราสส์ นักปรัชญาผู้มีอิทธิพลต่อแนวคิดนวอนุรักษ์นิยมของอเมริกา รวมไปถึง เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศในสมัยของริชาร์ด นิกสัน ทั้งสองคนหลังนี้ทำให้เราได้รู้ว่า หากจะศึกษานโยบายการต่างประเทศของสหรัฐฯ ไม่ว่ายุคเก่ายุคใหม่ ก็ควรจะอ่าน "เจ้าผู้ปกครอง"เสียก่อน ในเมืองไทยเรานั้น ไม่มีนักปรัชญา(ตามแบบฝรั่ง)ก็ดูพฤติกรรมนักการเมืองเอาก็ได้เช่น ถ้าเราอยากจะรู้ว่าทำไมทักษิณซึ่งลี้ภัยอยู่ที่อังกฤษย้ำแล้วย้ำอีกว่า"พอแล้ว" หรือทำไมสุรยุทธ์ถึงบ่นอยู่เรื่อยว่าอยากจะกลับเขายายเที่ยง อันนี้ก็ต้องอ่าน "เจ้าผู้ปกครอง"อีกเหมือนกัน

นิคโคโล  มาเคียเวลี่ (Niccolo Machiavelli)  เกิดที่เมื่องฟลอเรนซ์  (Floresnce)  ในอิตาลีเมื่อ ค.1469  ประวัตการศึกษาเขาไม่ค่อยแน่ชัดอาชีพส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่เกี่ยวข้องกับการเมือง ค.. 1494 เกิดการปฏิวัติในเมืองฟลอเรนซ์  พวกตระกูลเมดิซี  (Medici)  ซึ่งมีอำนาจปกครองอยู่ในขณะนั้นถูกขับไล่ออกจากเมือง  พวกปฏิวัติได้เปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครองของเมีองฟลอเรนซ์มาเป็นแบบสาธารณรัฐ  และมาเคียเวลลี่ได้เข้ารับราชการเป็นครั้งแรกในฐานะเสมียนประจำสำนักงานเอกสารบันทึกรัฐบาล  ชีวิตราชการของเขารุ่งเรื่องมาก  จนกระทั่งได้เป็นรัฐมนตรีกลาโหมและมหาดไทย รวมทั้งเลขานุการของคณะเทศมนตรี  (Council  of  Ten)  แห่งฟลอเรนซ์ระหว่าง ค..  1498-1512  นอกจากนี้ยังอยู่ในฐานะเจ้าหน้าที่ทางกางทูตอีกด้วย  มาเคียเวลลี่มีโอกาสได้เดินทางไปต่างประเทศหลายครั้งและพบประมุขบุรุษสำคัญๆ  เช่น หลุยส์ที่ 12  แห่งฝรั่งเศส,  แมกซิมิเลี่ยน(Maximilian) แห่งเยอรมัน,  และที่สำคัญที่สุดคือซีซาร์บอร์เจียแห่งโรมัญญา  (Bormgia  of   Romanya)  ซึ่งเป็นผู้ที่มาเคียเวลลี่มีความประทับใจในความสามารถมาก
   จากการสังเกตการณ์เกี่ยวกับการปกครองของประเทศต่างๆในยุโรป  และการศึกษาเกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์โดยเฉพาะของโรมัน  ทำให้มาเคียเวลลี่เห็นความสำคัญของการมีกองทัพที่เข้มแข็งในการที่เสรถียรภาพให้กับรัฐบาลและสาธารณรัฐ ดังนั้นเมื่อ  ..1506  มาเคียเวลลี่จึงได้ชักจูงให้คณะเทศมนตรีก่อตั้งกองทัพขึ้นโดยวิธีการเกณฑ์ทหารเข้าประจำการ  โดยเขารับหน้าที่เป็นผู้ฝึกยุทธวิธีทางการทหารให้กองทัพ  อย่างไรก็ตามกองทัพของเขาต้องพ้ายแพ้แก่กองกำลังพวกปฏิวัติตระกลูเมดิซีซี่ซึ่งหวดกลับเข้ามายึดครองฟรอเรนซ์ได้อีกและล้มเลิกระบบสาธารณะรัฐสำเร็จในปี ค..1512 มาเคียเวลี่พยายามหาทางเข้ารับราชกับพวกเมดิซี่แต่ไม่ได้รับการต้อนรับกับถูกเนรเทศออกอยากเมืองและภายหลังถูกจับกุมในข้อในการพยายามในการว่างแผนปฏิวัติและถูกจำคุกอยู่ระยะหนึ่งในที่สุดได้รับการปล่อยตัวให้ใช้ชีวิตอย่างสงบกับครอบครัวของเขา  ในระยะเวลาหนึ่งนี้เองที่ทำให้ให้มาเคคียเวลลี่ได้มีโอกาสได้รับใช้พวกเมดิซี่โดยได้รับมอบหมายให้เขียนประวัติศาสตร์นครฟลอเรนซ์มาเคียเวลลี่ถึงแก่กำเมื่อ  ..1527
   1.3   งานเขียนสส่วนใหญ่ของมาเคียเวลลี่เป็นผลิตผลในระยะที่เขาตกอับหมดอำนาจวาสนาทางการเมือง  เขาได้เขียนหนังสือทางการเมืองใว้หลายเล่มทั้งการเมืองและบทละคร  วรรณกรรมที่สำคัญของมาเคียเวลลี่ได้แก่  ผู้ปกครองหรือมุขชน (The  prince)  ซึ่งกล่าวกันว่า  มาเคีนเวลลี่ได้รับการบันดาลใจในการเขียนจากคุณสมบัติของซีซาร์ บอร์เจีย,  และบทสนทนา  (The  Discourses)  ซึ่งใช้สาธารณรัฐเยอรมันเป็นแบบอย่างในการแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ของรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐ
   1.4  มาเคียเวลลี่ได้ชื่อว่าเป็นเมธีคนแรกแห่งนวลสมัย  (Modern  time)  โดยที่ได้เสนอทัศนะที่มีลักษณะความคิดทางการเมืองสมัยกลางอย่างเห็นได้ชัด  ข้อเขียนของเขาไม่สนใจในเรื่องกฎหมายธรรมชาติหรืออาณัติจากสรรค์อีกต่อไป  ในการเสนอทฤษฎีการเมืองมาเคียเวลลี่พยายามละทิ้งสิ่งซึ่งไม่ใช่ทางการเมืองอย่างแท้จริง  ศาสนาที่เคยมีอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อความคิดทาวการเมืองในสมัยกลางไม่ใด้รับความสนใจหรือมีอิทธิพลต่อความคิดของมาเคียเวลลี่เท่าที่ควรสิ่งที่เขาให้ความสนใจเป็นอย่างมากคือการวิเคราะห์เพือแสวงหาวิธีการที่สามารถปฎิบัติในการที่เขาเชือถือว่าเป็นหัวใจสำคัญในทางการเมือง
2.  ธรรมชาติของคนและรัฐ
   2.1  มาเคียเวลลี่กล่าวใวใน  The Prince   ว่าธรรมชาติของมนุษย์เป็นสัตร์ที่เห็นแก่ตัว,ก้าวร้าว, และแสวงหา  พยายามที่จะหลีกเลี่ยงอันตรายและโลภในผลกำไร  จึงทำไห้มีชีวิตอยู่ในภาวะของการดิ้นรนและแข่งขันกันเองอยู่เป็นนิจสิน  นอกจากนี้คนยังเป็นผู้ที่โง่เขลาเบาปัญญา  ปล่อยจิตใจให้ตกอยู่ภายใต้ภายไต้การครอบงำของกิเลสตัณหาปราถนาที่จะแสวงสิ่งที่ตนมีอยู่และทะเยอทะยานที่อยากจะได้โนน่ได้นี่ตลอดมา  ใม่มีสิ่งใดที่สามารถสร้างความเพียงพอให้กับคนใด้ ความกระหายของมนุษย์เป็นสิ่งที่ใม่รู้จักอิ่ม,  คนถูกสร้างมาโดยธรรมชาติให้คิดว่าใม่มีสิ่งใดที่ใม่อาจแสวงหาได้แต่โดยโชคชะตาแล้วคนจะสมปราถนาในบางสิ่งเท่านั้น  ดั้งนั้นจิตของคนจึงมีความใม่พอใจชั่วนิรันดร์
  2.2  แรกเริ่มเดิมทีนั้นมนุษย์แยกย้ายกระจัดกระจ่ายกันอยู่ไม่ได้รวมกันเป็นหมู่เหล่าภายที่มีคมเพิ่มมากขึ้นจนใม่อาจหลีกเลี่ยงกันได้  สังคนจึงเกิดขึ้นธรรมชาติอันชั่วร้ายของคนนี้เองที่ทำให้สังคนทุกสังคนเติมไปด้วยของบรรยากาศของการต่อสู้  ซึงหากใม่มีอำนาจใดมาบังคับให้แกรงกลัวได้แล้วนั้น  สังคมจะยุ่งเหยิงไร่ระเบียบและปราศจากความสุขเพราะ  คนกระทำผิดเสมอในการที่ไม่รู้จักการจำกัดความปราถนาของเขา  การใฝ่หาความมั่นคงแห่งชีวิตทำให้บางคนมอบตัวเขาเองให้อยู่ในความพิทักษ์ของผู้ที่เข้มแข่งกว่าบางครั้งอย่างไม่รู่สึกตัว
  2.3  ดังนั้น  รัฐชาติหรือสังคมการเมืองจึงมิได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือการบันดาจของพระเจ้า  แต่มีรากฐานมาจากความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพของคนส่วนมากที่ใม่สามารถพิทักษ์ตนเองจากความก้าวร้าวของบุคคลอื่น  อำนาจเป็นสิ่งที่อยู่เบื้องหลังสถาบันการปกครองต่างๆหน้าที่ของรัฐไม่มีมากเกินไปกว่าผดุงรักษาสันติภาพ  รัฐมิใด้เปลี่ยนแปลงรากฐานธรรมชาติของมนุษย์หากแต่คอยควบคุมธรรมชาติของมนุษย์มิให้ทำลายเสถียรภาพและความมั่นคงหรือสันติภาพในการอยู่ร่วมกันมาเป็นสังคม   มาเคียเวลลี่เชื่อว่า
     รัฐมิได้ถูกสถาปนาขึ้นเพือผดุงจุดหมายที่จะจัดตั้งศีลธรรมหรือบังคับใช้กฎหมายธรรมชาติ,ความจริง,ศีลธรรมและกฎหมายธรรมชาติคือสังกัปซึ่งได้รัปการพัฒนาภายหลังจากคนอื่นเริ่มมีปฎิกิริยาร่วมกันในการต่อต้านผู้ที่ใช้อำนาจทำลายล้างเขา
3.ศิลปะแห่งการปกครอง
  3.1  การได้อำนาจของผู้ปกครองหรือกษตริย์นั้นเป็นไปได้ 2 ทางด้วยกันคือ  การสืบสันตติวงศ์,หรือการปราบดาภิเษก  มาเคียเวลลี่เห็นว่า  ผู้ที่ขึ้นสู่บัลลังก์ด้วยการสืบสันตติวงศ์นั้นมักจะไม่ค่อยมีปัญหาหรือประสบความยากลำบากใดการรักษาอำนาจ  เพราะมีพืนฐานหรือสิ่งแวดล้อมสนับสนุนการครองอำนาจของตนเองอยู่แล้ว  สิ่งฉลาดที่ผู้ปกครองควรปฏิบัติอย่างยิ่งคือ  การรักษาแบบแผนประเพณีดั้งเดิมของประเทศไว้อย่าพยายามเสี่ยงเปลี่ยนแปลงขนบธรรมเนียมของเดิมเสียใหม่  เพราะสิ่งแวดล้อมเก่าๆนั้นสนัลสนุนตนเป็นอย่างดีอยู่แล้ว  มาเคียเวลลี่กล่าวว่า
     ผู้ที่จะกระทำการปฏิรูปจะสร้างศัตรูขึ้นจากผู้ที่เคยได้รับผลประโยชน์จากแบบแผนเก่าๆส่วนผู้ที่ได้                ประโยชน์จากระเบียบใหม่ๆนั้นอาจจะสนับสนุนผู้ปกครองคนใหม่  แต่การสนับสนุนนั้นยังหาควมามั่นคงไม่ได้  อาจเป็นการสนับสนุนเพียงครึ่ง ๆ กลาง ๆ เพราะยังไม่เชื่อในความมั่นคงของสิ่งใหม่รวมทั้งผู้ปกครองใหม่มากนัก
3.2 สำหรับมุขบุรุษที่ได้อำนาจมาด้วยการยึดอำนาจนั้น   มีปัญหามากหมายที่ต้องเผชิญในการพยายามสร้างความมั้นคงให้กับอำนาจตน  การได่อำนาจนั้นอาจมาจากการสนับสนุนของกลุ่มขุนนางหรือประชาชนฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง  ซึ่งผลประโยชน์ของทั้งสองพวกนี้มักจะเป็นปฏิปักษ์กันเสมอ  แต่ไม่ว่าจะได้อำนาจมาด้วยการสนับสนุนของกลุ่มของฝ่ายใดก็ตาม  มาเคียเวลลี่เตือนว่า  ผู้ปกครองต้องระลึกอยู่เสมอว่าความมั่นคงของเขานั้นขึ้นอยู่กับประชาชนมากกว่ากลุ่มข้าราชการหรือขุนนางสิ่งที่ประชาชนต้องการมีเพียงสิ่งเดียวคือ  อิสรภาพจากการกดขี่ข่มเหง  ผิดกันกับกลุ่มขุนนางที่มักจะมุ่งแข่งอำนาจกับผู้ปกครองอยู่เสมอ  ดังนั้นแม้ว่าผู้ปกครองจะได้อำนาจจากการสนับสนุนของกลุ่มขุนนาง  แต่เมื่อได้อำนาจมาแล้วเขาจำต้องแสวงหาการสนับสนุนของประชาชนหากประสงค์ความมั่นคงแห่งบัลลังก์  ไม่ใช่ร่วมมือกับกลุ่มขุดนางกดขี่ประชาชน
3.3  ผู้ปกครองที่ปฏิวัติยึดอำนาจหรือปราบดาภิเษกขึ้นสู่ตำแหน่งนั้น  จะสามารถหาพลังสนับสนุนตนได้อย่างรวดเร็วหากว่าตนเป็นผู้ที่พูดภาษา  และมีประเพณีเช่นเดียวกับประชาชนในประเทศที่ตนยึดครองได้  เพราะเหตุว่าพลเมืองหรือผู้ถูกปกครองจะไม่รู้สึกถึกความแตกต่างระหว่างผู้ปกครองคนใหม่กับคนเก่าเทเท่าใดนัก  แต่ผู้ปกครองที่เข้ายึดครองดินแดนต่างชาติจะประสบความยากลำบากในการที่จะรักษาอำนาจท่ามกลางหมู่ชนที่ไม่ได้ผู้ภาษาเดียวกันกับเขา  ในสถานการณ์เช่นนี้ มุขบุรุษต้องปกครองอย่าวหฤโหดในการทำลายล้างผู้ต่อต้านทุกคนใดทันทีทันใดและระยะแรก ๆ เท่านั้นวิธีการเช่นนี้จะทำให้ประชาชนผู้ไม่เลือมใสในผู้ปกครองคนใหม่จะมีความรู้สึกเกรงกลัว และผู้ที่ไม่ต้องการจะถูกทารุนจะหันมาสนับสนุนและจงรักภักดี  ในขณะเดียวกันผู้ปกครองคนใหม่ต้องแสวงหาพวกพ้องจากกลุ่มผู้ถูกกดขี่โดยโดยผู้ปกครองคนเก่าเพราะพวกนี้ใม่พอใจในผู้ปกครองคนเดิมอยู่แล้ว  เมื่อมีคนใหม่เข้ามาจึงมีแนวโนม้ที่จะสนับสนุน พวกผู้ปกปกครองคนใหม่เข้ากับพวกนี้ได้ก็จะใด้กำลังสำหรับปราบปรามผู้กระด้างกระเดื่องทั้งหลายเพิ่มขึ้น
3.4   ภายหลังจากใช้วิธีการที่ทารุณโหดร้ายอยู่ระยะหนึ่งแล้ว มาเคียเวลลี่แนะนำให้ผู้ปกครองหันมาใช้วิธีการชักจูงจิตใจคนอย่างมีศิลปะเพราะ  ผู้ปกครองที่ดีจะต้องไม่ใช่กำลังอำนาจอย่างเดียวที่จะรักษาอำนาจไว้ให้แก่ตนเอง  ท่านผู้นีสอนว่าในระยะยาวการใช้อำนาจเป็นการสิ้นเปลืองและเป็นวิธีการที่ไรประสิทธิภาพ  ผู้ปกครองอาจนำศาสนาเข้ามาเป็นเครื่องมือปกครองช่วยรักษาความสงบด้วยการสถาปนาศาสนาให้มั่นคงและส่งเสริมกิจกรรมทางศาสนาให้แพร่หลาย พยายามชักจูงให้ประชาชนเกรงกลัวที่จะถูกลงโทษโดยพระเจ้าหากก่อความไม่สงบเดือดร้อนขึ้น แต่ผู้ปกครองไม่ควรที่จะเป็นศาสนิกชนสียเอง เพียงรู้จักแสวงประโยชน์จากความเชื่อถือในศ่าสนาของประชาชน
3.5   มุขบุรุษจะต้องมีกองทัพที่มีประสิทธิภาพเป็นกองกำลังสนับสนุน ทหารในกองทัพจะต้องเป็นทหารประจำการหรือทหารเกณฑ์ไม่ใช่ทหารรักจ้าง เพราะ ผู้ที่ต่อสู้ปกป้องกันบ้านเกิดและคุณธรรมของสตรีของตนเท่านั้นที่จะย่อมสละชีวิตในสมรภูมิ  ส่านทหารที่รบเพือเงินนั้นแทนที่จะส่งเสริมอำนาจของผู้ปกครองในที่สุด  นอกจากนั้นผู้ปกครองไม่ควรหวังที่จะพึ่งกำลังทัพของคนอื่น เพราะจะทำให้เขาตกอยู่อภายใต้อำนาจของผู้ที่พึ่งพาผู้ปกครองจำเป็นต้องเตรียมกำลังทัพให้พร้อมอยู่เสมอและต้องได้รับการฝึกฝนทั้งทางด้านสมรรถภาพในการรบและจิตวิทยาการฝึกซ้อมที่ต้องกระทำแม้ยามสงบเพือที่จะสามารถรับสถานการณ์ได้ทันท่วงที
3.6   หากสงครามระหว่างรัฐเพื่อนบ้านเกิดขึ้น ผู้ปกครองต้องนำกำลังทัพของตนเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มาเคียเวลลี่เห็นว่าการวางตัวเป็นกลางเป็นอันตรายอย่างร้ายแรงเพราะก่อให้เกิดศตรูพร้อมๆกันทั้งสองด้าน รัฐคู่สงครามจะเกลียดชังและเมื่อสงครามสิ้นสุดลงผู้ชนะสงครามอาจมุ่งดจมตีรัฐที่เป้นกลางทันที ดังนั้นมุขบุรุษจำต้องตัดสินใจอย่างเด็ดขาดที่จะเข้ากับฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งและหากเป็นไปใด้ควรใช้วิธีถ่วงดุลย์แห่งอำนาจโดยสนับสนุนฝ่ายที่อ่อนแอกว่า   เพราะเมือชัยชนะมาถึงกลับจะเป็นฝ่ายที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่าพันธมิตรที่เริ่มสงครามเสียอีก
3.7   สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งในการเป็นผู้ปกครองคือการเลือกข้าราชการ   หรือคณะเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษา   ผู้ปกครองจะต้องระลึกเสมอว่า   คนพวกนี้ทำทุกสิ่งทุกอย่างเพือผลประโยชน์ของเขาเท่านั้น  หาได้จงรักพรรคนี้ซื่อตรงไม่  และจะประจบสอพลอเป็นเรื่องธรรมดาและนิยมปฎิบัติ    พวกขุนนาง  ชอบเพ็ดทูลสิ่งที่ผู้ปกครองต้องการได้ยินมากกว่าสิ่งที่ควรจะฟัง   หากผู้ปกครองค้นผบคุณสมบัติประการนี้ในตัวข้าราชการผู้ใดควรที่จะลงโทษหรือจำกัดโดยเร็ว   เพราะพวกนี้เองที่จะเป็นตัวทำลายเสถียรภาพของผู้ปกครองในเวลาเดียวกันควรจะอุปถัมภ์พวกที่เอาใจใส่การงานด้วยความซื่อตรงและควรจะแสดงให้เห็นว่า  ไม่มีใครจำต้องกลัวเกรงต่อการให้คำแนะนำที่ดีแม้ว่าคำแนะนำนั้นอาจจะไม้น่าฟังเพียงใดก็ตาม  ผู้ปกครองต้องมีขันติยอมรับคำวิพากษ์วิจารณ์โดยสุจริตใจของเหล่าขุนนางเพื่อจะได้รับทราบความเป็นไปที่แท้จริงของสถานการณ์ต่างๆ
4.คุณสมบัติของมุขบุรุษ
4.1   เมื่อสามารถเป็นผู้ปกครองได้แล้วการวางตัวในฐานะมุขบุรุษย่อมเป็นสิ่งสำคัญด้วยศรัทธาและความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อผู้นำรัฐขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ปกครองมาเคียเวลลี่ชี้คุณลักษณะที่สำคัญของผู้ปกครองไว้หลายประการด้วยกันใน THE  PRINCE เช่น ต้องเป็นผู้มัธยัสต์,เด็ดขาด,รอบคอบ, เป็นที่ยำเกรงของผู้ถูกปกครอง และมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์เข้าไว้ด้วยกันเมื่อสามารถเป็นผู้ปกครองได้แล้ว การวางตัวในฐานะมุขบุรุษย่อมเป็นสิ่งสำคัญด้วยศรัทธาและความจงรักภักดีของประชาชนที่มีต่อผู้นำรัฐขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของผู้ปกครอง มาเคียเวลลี่ชี้คุณลักษณะที่สำคัญของผู้ปกครองไว้หลายประการด้วยกันใน
4.2   ประการแรกสุด ผู้ปกครองต้องทำตนเป็นคนมัธยัสต์ ไม่สุรุ่ยสุร่าย จริงอยู่ที่ว่าการเป็นคนมีความกรุณานั้นเป็นสิ่งดี แต่มาเคียเวลลี่เตือนว่า ความเมตตาอารีอย่างไม่มีเขตนั้นเป็นอันตรายได้เช่นกัน ผู้ปกครองที่มีนิสัยสุรุ่ยสุร่ายชอบแจกนี่อยู่เสมอนั้น จะพบว่าในการแผ่เมตตาเช่นนั้นตนต้องใช้ทรัพย์สินทั้งหมดของตน และบางทีเมื่อจนแต้มเข้า ความต้องการชื่อเสียงในฐานะผู้มีความกรุณาปรานี จะทำให้ตนต้องแสวงหาเงินทองจากการสร้างภาระให้ประชาชนด้วยการขึ้นภาษีเพื่อจะทำให้ตนมีเงินจับจ่าย การมัธยัสถ์นั้นในระยะแรกผู้ที่ไม่เข้าใจอาจจะตำหนิว่าเป็นคนตระหนักที่ แต่เมื่อภายหลังประชาชนพิจารณาโดยถ่องแท้แล้วว่า การมัธยัสถ์นั้นเป็นการกระทำเพื่อพวกเขา ผู้ปกครองย่อมจะได้รับคำสรรเสริญและศรัทธา
4.3   ผู้ปกครองจะต้องมีความเด็ดขาด แม้ว่าทุกคนปรารถนาที่จะได้รับการยกย่องว่าเป็นคนเมตตามากกว่าโหดร้าย แต่ด้วยพันธะหน้าที่ผู้ปกครองจะใจดีเกินไปไม่ได้ เพราะความเมตตาปรานีจะถูกมองในแง่ของความอ่อนแอ และความยุ่งเหยิงจะปรากฏเป็นผลตามมา เพราะฉะนั้นผู้ปกครองต้องไม่เกรงกลัวถูกกล่าวหาว่าโหดร้าย เมื่อเขาใช้ความเด็ดขาดเพื่อรักษาผู้ที่ถูกปกครองให้มีเอกภาพและซื่อสัตย์ต่อผู้ปกครอง
4.4   ระหว่างความรักและความยำเกรงของพลเมือง หากจำเป็นแล้วผู้ปกครองย่อมต้องเลือกเอาประการหลัง แม้ว่าจะเป็นการดีที่สุดถ้าได้รับทั้งสองประการ มาเคียเวลลี่กล่าวว่า แต่เนื่องจากเป็นเรื่องยากที่จะได้รับทั้งสองอย่างในเวลาเดียวกัน, จะเป็นการปลอดภัยถ้าได้รับความยำเกรงมากกว่าความรัก เพราะความยำเกรงนั้นทำให้เกิดความเชื่อฟังไม่กระด้างกระเดื่อง แต่ต้องไม่ลืมว่าความยำเกรงนั้นไม่ใช่ความเกลียดกลัว ผู้ปกครองต้องไม่ทำตนให้พลเมืองรังเกียจเพราะความเกลียดจะบั่นทอนพื้นฐานของการสนับสนุน ผู้ปกครองจะต้องหลีกเลี่ยงจากการริบทรัพย์สมบัติหรือหญิงของผู้ที่ตนปกครอง เพราะการกระทำเช่นนี้จะนำไปสู่ความเกลียดชัง เขาเชื่อว่า คนพร้อมที่จะลืมผู้ที่ฆาตรกรรมบิดาของเขามากกว่าผู้ที่ยึดเอาทรัพย์สินของเขาไป
4.5ผู้ปกครองต้องเป็นคนรอบคอบ เหตุการณ์และทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้หาความแน่นอนไม่ได้ โชคชะตา (Fortuna) มีบทบาทไม่น้อยในการกำหนดความเป็นไปของทุกสิ่ง มาเคียเวลลี่กล่าวว่า ข้าพเจ้าคิดว่าอาจจะเป็นจริงที่ว่าโชคชะตาเป็นผู้ควบคุมการกระทำของเราเสียครึ่งหนึ่งแต่ว่ายังคงปล่อยอีกครั้งหนึ่งอยู่ในความควบคุมของเรา ดังนั้นแม้ว่าโชคชะตาจะมีอิทธิพลต่อความเป็นไปและเป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดหมายล่วงหน้าได้ก็ตาม เราก็ไม่ควรปล่อยชีวิตให้แล้วแต่ลิขิตของโชคชะตาเพียงอย่างเดียว ในเมื่อเราสามารถกำหนดกฎเกณฑ์ได้อย่างน้อยก็ครึ่งหนึ่ง และหากมีความรอบคอบ ผลร้ายจากโชคชะตาอาจจะไม่ทำความเสียหายให้แก่เรามากนักได้ ฉะนั้นผู้ปกครองต้องมีความกล้าหาญที่จะเผชิญความวิบัติซึ่งนำมาโดยโชคชะตา และรอบคอบพอที่จะระมัดระวังไม่ให้โชคชะตานำผลเสียหายมาให้เกิดสมควร เมื่อกระทำสิ่งใดล้มเหลวผู้ปกครองจะต้องไม่โทษว่าเป็นผลจากการเล่นตลกของโชคชะตา
4.6   ผู้ปกครองควรมีคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกและราชสีห์รวมเข้าด้วยกัน มาเคียเวลลี่หมายถึงว่าผู้ปกครองควรมีความเฉลียวฉลาดดุจสุนัขจิ้งจอก และความเข้มแข็งอย่างราชสีห์ เพื่อสามารถผจญกับเล่ห์เหลี่ยมและปราบปรามผู้ที่ตนปกครองการที่ผู้ปกครองต้องมีคุณสมบัติของสัตว์เดรัจฉานเพราะว่าในบางครั้งกฎหมายซึ่งใช้ตัดสินข้อขัดแย้งระหว่างคนไม่สามารถที่จะกำหราบคนซึ่งความเดรัจฉานในตัวได้ การมีคุณสมบัติแห่งราชสีห์อย่างเดียวอาจทำให้คนหยิ่งในเกียรติศักดิ์จนเกินไป และคุณสมบัติแห่งจิ้งจอกอย่างเดียวก็จะไม่เป็นที่ยำเกรงในเรื่องพละกำลัง ผู้ปกครองต้องเป็นคนมีเล่ห์เหลี่ยม ไม่รักษาสัจจะ หากสัจจะนั้นจะทำลายผลประโยชน์ของตนเอง มาเคียเวลลี่ให้เหตุผลว่า การรักษาสัจจะนั้นเป็นสิ่งดี หากคนทั้งหมดเป็นคนดี แต่โดยที่คนตามธรรมชาตินั้นเลวและไม่รักษาสัจจะกับผู้ปกครอง ดังนั้นผู้ปกครองก็ไม่จำเป็นที่จะรักษาสัจจะกับเขา
4.7   อย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่า ผู้ปกครองจำเป็นต้องแสดงคุณสมบัติข้างต้นทุกประการ คุณสมบัติดังกล่าวเป็นสิ่งแอบแฝงอยู่ในตัวของบุรุษ ผู้ปกครองอาจสร้างความนิยมด้วยการแสดงให้ผู้ถูกปกครองมีภาพพจน์ว่า เขาเป็นคนดีมีเมตตา, ซื่อสัตย์, และเต็มไปด้วยมนุษยธรรมแต่ว่าเบื้องหลังภาพพจน์นั้น เขาต้องพร้อมที่จะเป็นคนเข้มแข็งเด็ดขาด, ไร้ความเมตตา, กลับกลอก เมื่อสถานการณ์บีบบังคับ เพราะว่าพันธะของผู้ปกครองคือ การรักษาเสถียรภาพแห่งรัฐของตนเท่านั้น
5.รูปแบบการปกครอง
 5.1   แม้ว่ามาเคียเวลลี่จะสนับสนุนว่าระบอบสมบรูณาญาสิทธิราช (Abaolute Monarchy) เป็นระบอบการปกครองที่เหมาะสมที่สุดกับอิตาลีในขณะนั้นซึ่งแตกแยกเป็นแคว้นต่าง ๆ 5 แคว้นด้วยกันมาเคียเวลลี่โทษว่าการขาดเอกภาพนั้นเป็นผลมาจากอิทธิพลของคริสตศาสนา แต่ทั้งนี้มิได้หมายความว่า ระบบการปกครองโดยคน ๆ เดียวมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดเป็นระบบการปกครองที่ดีที่สุดในทัศนะของมาเคียเวลลี่ ท่านผู้รู้หลายได้วิจารณ์ว่า ที่มีเคียเวลลี่เสนอเช่นนี้ เพราะต้องการประจบตระกูลเมดิซี่ซึ่งมีอำนาจในแคว้นฟลอเรนซ์ขณะนั้น เพื่อขอตำแหน่งทางการเมืองอีกเท่านั้นเอง
5.2   อย่างไรก็ตามการมองมาเคียเวลลี่ในแง่ร้ายนั้นอาจไม่ถูกต้องนัก เพราะเขาเชื่อด้วยความจริงใจว่าการก่อร่างสร้างรัฐไม่ว่าจะอยู่ในรูปใดจะต้องเริ่มโดยคน ๆ เดียว เขาเขียนไว้ใน The Discourese ว่า สิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลยหรือยากที่จะเกิดขึ้นคือการที่สาธารณรัฐหรือรัฐหรือระบบสมบูรณาญาสิทธิราชจะเป็นรูปแบบอย่างดีขึ้นมาได้ เว้นเสียแต่ว่าเป็นการกระทำของคน ๆ เดียว มาเคียเวลลี่หมายความว่าการก่อรูประบบการปกครองนี้ต้องเป็นความคิดหรือสำเร็จลงด้วยนักปฏิรูปผู้มีอำนาจเพียงคนเดียวและวางหลักการต่าง ๆ ของระบบนั้นไว้เป็นมรดกการเมืองให้ผู้ที่อยู่หลังปฏิบัติตามกฏเกณฑ์แบบแผนที่เขาได้วางไว้ อย่างไรก็ดีมาเคียเวลลี่ยอมรับการปกครองแบบอำนาจเด็ดขาดใน 2 สถานการณ์เท่านั้น คือ การสถาปนารัฐใหม่และการปฏิรูปรัฐที่เสื่อมโทรม
5.3   มาเคียเวลลี่เชื่อว่าระบบการปกครองที่ดีนั้นคือ ระบบบการปกครองที่มีเสถียรภาพ ระบบการปกครองเฉพาะแบบ เช่น ราชาธิปไตย ,อภิชนาธิปไตย , ประชาธิปไตยเป็นสิ่งดี แต่ข้อบกพร่องที่สำคัญของรูปการปกครองเฉพาะแบบนี้คือ การขาดเสถียรภาพ ความดีของระบบมักจะถูกทำลายลงด้วยตัวของมันเองในเวลาไม่นานนัก มาเคียเวลลี่ยกย่องรูปแบบผสมของการปกครองสาธารณรัฐโรมัน เขาให้คำสรุปว่า รูปแบบการปกครองแบบผสมให้แบบแผนที่ดีที่สุด :ในขณะที่มันอาจจะมีความดีน้อยกว่าระบบราชาธิปไตย, อภิชนาธิปไตย , หรือประชาธิปไตย แบบหนึ่งแบบใดโดยเฉพาะแต่มีแนวโน้มที่จะมีอายนุยืนยาวกว่า ความมีเสถียรภาพทำให้ระบบการปกครองแบบผสมมีค่ากว่ารูปการปกครองเฉพาะแบบ
5.4  เสรีภาพเป็นสิ่งสำคัญที่ระบบการปกครองที่ดีที่สุดรักษาไว้ เสรีภาพเป็นสิ่งที่ทำให้คนสามารถที่จะปฏิบัติตามคุณธรรมของตนได้ และเป็นรากฐานสำคัญของความมีเสถียรภาพของรัฐอย่างไรก็ตามความเข้าใจของคนในรัฐที่มีต่อคำว่าเสรีภาพนั้นอาจแยกออกได้เป็น 2 ประการ คือประการแรกสำหรับผู้บริหารซึ่งมีจำนวนน้อย เสรีภาพหมายถึงอิสรภาพในการบังคับบัญชาหรืออาจจะเลยเถิดไปถึงการกดขี่ข่มเหง และประการที่สองสำหรับประชาชนทั่วไปเสรีภาพหมายถึงอิสรภาพจากการกดขี่ข่มเหงและประสบความมั่นคงในชีวิตส่วนตัว
5.5  มาเคียเวลลี่พอใจในรูปแบบการปกครองแบบสาธารณรัฐที่มีลักษณะผสมผสานระหว่างอภิชนาธิปไตยและประชาธิปไตย ในขณะที่เสียงส่วนมากของประชาชนควรเป็นผู้กำหนดนโยบายหรือหลักการต่าง ๆ คนกลุ่มน้อยที่มีคุณสมบัติบางประการดีเด่นเหนือกว่าคนส่วนมากควรได้รับการไว้วางใจให้เป็นคณะผู้บริหารหรือผู้พิทักษ์เสรีภาพ จากพฤติกรรมในประวัติศาสตร์ มาเคียเวลลี่เชื่อว่า หากนำหน้าที่พิทักษ์เสรีภาพนี้ไว้ในมือของประชาชนทั่วไป จะก่อให้เกิดความยุ่งเหยิ่งเพราะพวกอภิชนจะไม่ไว้วางใจและอาจก่อการขัดขืนหรือปฏิวัติขึ้น แต่คนธรรมดานั้นส่วนใหญ่ยินดีที่จะถูกปกครองโดยกลุ่มอภิชนอยู่แล้ว เพียงแต่ให้มีหลักประกันสำหรับเสรีภาพของเขาเท่านั้นมาเคียเวลลี่ไม่ได้กล่าวว่าพวกอภิชนคนกลุ่มน้อยจะเป็นผู้พิทักษ์เสรีภาพที่ดีที่สุด ,เขาเพียงแต่ชี้ให้เห็นว่าสังคมจะยุ่งเหยิงพวกนี้ไม่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้นำ
5.6  หลักประกันสำหรับทุก ๆ คนในรัฐคือการมีกฎหมาย กฎหมายเป็นสิ่งสูงสุดในการปกครองแม้ว่าคนจะเป็นผู้บัญญัติ , ตีความ , และบริหารกฎหมาย แต่การเคารพกฎหมายนั้นมีค่ามากกว่าการเคารพผู้สร้างกฎหมาย เพราะว่ากฎหมายคือหลักการสำหรับพิพากษาข้อขัดแย้งซึ่งผ่านการตรวจสอบโดยสถาบันต่าง ๆ และพัฒนามาเป็นระยะเวลานานก่อนที่จะได้รับการเชื่อถือการที่คนส่วนใหญ่ยินยอมให้กลุ่มอภิชนส่วนน้อยปกครองนั้น ไม่ใช่เพราะวางใจแต่เพราะเชื่อหลักประกันของกฎหมาย มากกว่าการปกครองด้วยกฎหมายจะสร้างเสถียรภาพของรัฐและควบคุมผู้ปกครองไม่ให้ใช้อำนาจเพื่อสร้างผลประโยชน์ให้กับกลุ่มของตนเพียงกลุ่มเดียว
5.7  ในรูปการปกครองที่ดีนั้น แม้ว่าผู้ปกครองจะต้องมีลักษณะแห่งอภิชนาธิปไตย แต่ประชาชนควรเป็นผู้มีสิทธิเลือกผู้ปกครองตามลักษณะประชาธิปไตย มาเคียเวลลี่เขียนไว้ใน The Discourses ว่า ประชาชนมีความเฉลียวฉลาดกว่าเหล่าผู้ปกครองในการเลือกตั้งผู้บริหาร ประชาชน ไม่มีวันสนับสนุนบุคคลซึ่งมีชื่อเสียงไม่ดีหรือนิสัยเลวทรามเข้าสู่ตำแหน่งบริหารอย่างไรก็ตามมิได้หมายความว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นแก่ส่วนร่วมและไม่ผิดพลาดเลยเสมอไปในบางครั้งประชาชนอาจปล่อยให้อารมณ์ขึ้นมาอยู่เหนือเหตุผลเช่นกัน เพราะฉะนั้น คุณค่าของรัฐบาลแห่งประชาธิปไตยจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อรัฐมีผู้นำที่เข้มแข็ง เสียงส่วนใหญ่ของประชาชนอาจเป็นผู้วางรูปแบบหลักการแห่งรัฐธรรมนูญ แต่เขาทั้งหลายจะต้องอยู่ภายใต้การนำของผู้นำที่เข้มแข็ง เสถียรภาพและความไพบูลย์แห่งสาธารณรัฐจึงจะบังเกิดขึ้น
6.  ความส่งท้าย
6.1  มาเคียเวลลี่มีทัศนะว่าการเมืองเป็นเรื่องของอำนาจ นักการเมืองปรารถนาที่จะได้มาหรือผดุงไว้ซึ่งอำนาจ เรื่องของการเมืองไม่อาจที่จะคำนึงถึงคุณธรรมหรือค่าแห่งศีลธรรม จุดประสงค์ของการเมืองคือการรักษาหรือเพิ่มอำนาจทางการเมืองโดยเฉพาะ และมาตรฐานที่จะใช้วัดในเรื่องนี้คือ ความสำเร็จตามจุดประสงค์ดังกล่าวเท่านั้น ความมุ่งหมายในการเสนอทฤษฎีในการเมืองของมาเคียเวลลี่คือ การแสวงหาเอกภาพแห่งชาติ ซึ่งในการที่จะให้บรรลุถึงจุดหมายปลายทางนี้มาเคียเวลลี่ยอมรับวิธีการทุกอย่างแม้ว่าจะเป็นสิ่งที่ผิดกับศีลธรรมก็ตาม เพราะว่าความดีหรือความชั่วไม่ใช่สิ่งที่เกี่ยวข้องกับความสำเร็จทางการเมือง งานของเขาส่วนใหญ่เกี่ยวกับศิลปะแห่งการสร้างอำนาจของผู้ปกครองและเสถียรภาพแห่งรัฐเท่านั้น
6.2  มาเคียเวลลี่ใช้วิธีการแบบศาสตร์ในการรวบรวมข้อมูลเพื่อเสนอผลงานของเขา เขาใช้หลักการสังเกตการณ์ทางการเมืองผสมกับการตรวจสอบประวัติศาสตร์ โดยการเชื่อที่ว่า ประวัติศาสตร์ย่อมซ้ำรอย เพราะฉะนั้นกฎเกณฑ์ของพฤติกรรมทางการเมืองสามารถค้นหาได้จากเหตุการณ์ที่ผ่านมา ดังนั้นตัวอย่างหรือเหตุผลประกอบความคิดของเขาส่วนใหญ่จึงเป็นเรื่องเกี่ยวกับอาณาจักรโรมันและยุโรปสมัยนั้นเกือบทั้งสิ้น ผลงานที่สำคัญของเขาคือ The Prince และ The Discourses แม้ว่าจะเขียนขึ้นหลายศตวรรษแล้ว แต่ปัจจุบันนี้ก็ยังคงทันสมัยอยู่ หลักการต่าง ๆ จากหนังสือทั้งสองเล่มยังเป็นที่ย่อมรับกันอยู่ถึงแม้ว่าการวิเคราะห์ของมาเคียเวลลี่จะไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะเขามีแนวโน้มจะให้ความสำคัญแก่รัฐบุรุษมากเกินไป

มาคิอาเวลลี กับการเมืองไทย

เหตุการณ์การเมืองไทยเข้าด้ายเข้าเข็มอีกครั้งหนึ่ง อัยการสูงสุดกำลังพิจารณาการชี้มูลความผิดที่ นายทะเบียนพรรคการเมืองส่งมาให้ เพื่อตัดสินใจว่าจะส่งเรื่องต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญ ยุบพรรคไทยรักไทย หรือไม่ ขณะเดียวกัน ทางคณะกรรมการเลือกตั้ง ก็เพิ่งส่งเรื่อง ชี้มูลความผิดของพรรคประชาธิปัตย์ ในข้อหาพยายามขัดขวางการปกครองในระบบอบประชาธิปไตย มาให้อัยการสูงสุดอีกเหมือนกัน เรื่องราวทั้งหมดจะออกหัวออกก้อย จะหมู่ จะจ่าหรือติดดาวเป็นนายร้อยก็ยังไม่ทราบ
พวกเราได้รับรู้เรื่องความสับสนวุ่นวายของบ้านเมืองมาครั้งแล้วครั้งเล่า เรื่องอันเกิดจากความขัดแย้งทางการเมือง จริงๆแล้วก็เป็นผลประโยชน์ของบุคคล หรือกลุ่มคนที่ต้องการเข้ามีอำนาจในการปกครองนั่นแหละ ทำให้ปั่นป่วนกันไปหมด แต่ทุกครั้งจะมีผลสรุปเหมือนกันอย่างหนึ่ง นั่นคือ ผู้ปกครองประเทศทุกคน ล้วนผ่านมาแล้วผ่านไป ไม่มีใครคงอยู่ยั่งยืน แล้วก็เป็นประชาชนตาดำๆนั่นแหละ ซึ่งจะเป็นผู้รับผลที่ตามมา ไม่ว่าจะดีหรือร้าย หลังเหตุการณ์ต่างๆจบสิ้นลง
เมื่อพูดถึงการบ้าน การเมือง ผมอยากจะอ้างถึงงานเขียนของบุคคลคนหนึ่ง เขาคือ มาคิอาเวลลี (Niccolo Machiavelli) ซึ่งมีชีวิตอยู่ในยุคห้าร้อยปีที่แล้ว เกิดที่เมืองฟลอเร้นซ์ และเป็นที่กล่าวขวัญถึงมากในหมู่นักรัฐศาสตร์ยุคต่อมา จากงานเขียนที่เกี่ยวกับ เจ้านคร รัฐและการปกครอง เขาโดดเด่นจากงานเขียนจำนวนมาก ทั้งในรูปของจดหมายไปถึงเพื่อนในช่วงชีวิตราชการและวรรณกรรมที่เขียนขึ้นในยุคหลัง ในที่นี้ จะพูดถึงหนังสือเล่มหนึ่ง นั่นคือ The Prince ซึ่งเป็นวรรณกรรมที่เขาเขียนหลังพ้นจากตำแหน่งราชการแล้ว
The Prince โด่งดังในแง่ซึ่งเป็นหนังสือเล่มแรก ที่ยืนยันว่า มีการใช้การเมืองในการปกครอง และควรมีกฎเกณฑ์ของตนในการเอาชนะหรือได้เปรียบเหนือผู้อื่น หนังสือเล่มนี้พูดอย่างละเอียดในเรื่อง การไม่ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดใดๆทางศีลธรรมจรรยา การเป็นคนเจ้าเล่ห์และหน้าไหว้หลังหลอกในการเมือง ผู้ที่ประพฤติปฏิบัติตามสิ่งที่มาคิอาเวลลีแนะไว้ จึงถูกเรียกว่าเป็นแบบอย่างของมาคิอาเวลลี (Machiavellianism)
ในขณะที่ The Prince มักจะถูกมองว่าเป็นแบบอย่างของความคิดอันชั่วร้ายในการใช้อำนาจปกครอง แต่มีนักปรัชญาหลายท่านชี้ว่า มาคิอาเวลลีเขียน The Prince เพื่อเน้นให้เห็นว่า ประชาชนผู้เสรีทั้งหลายพึงระมัดระวัง ในการที่จะมอบสวัสดิภาพของตนให้อยู่ในมือของคนๆ เดียว เพราะผู้เป็นทรราชนั้น หากไม่เห่อเหิมจนเกินเลย ย่อมจะหวั่นเกรงต่อภัยที่คุมคามตนเอง ฉะนั้น เขาย่อมจะต้องทำทุกอย่างเพื่อตนเอง และวางแผนต่อต้าน ควบคุมประชาชน มากกว่าที่จะปฏิบัติงานเพื่อความผาสุกของประชาชน
The Prince “เจ้าผู้ปกครองที่ผมนำเอาเนื้อหาสาระมากล่าวถึงนี้ หยิบยกมาจากฉบับแปลซึ่งมีเนื้อหาจำนวนถึง 366 หน้า ผลงานของ อาจารย์สมบัติ จันทรวงศ์ อาจจะย่อยยาก เต็มไปด้วยเชิงอรรถทำความเข้าใจยากสักหน่อย แต่หากอดทนอ่านทำความเข้าใจให้ตลอด จะพบว่ากิเลส ตัณหาของนักการเมืองนั้น เป็นของคู่โลก ไม่เคยล้าสมัยเลย แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไปกี่ร้อยกี่พันปีก็ตาม
ลองไปหาอ่านดูเถอะ มาคิอาเวลลีเปรียบนักการเมืองประเภทต่างๆไว้อย่างสะใจ หากมองไปรอบตัว ไม่ว่าจะเป็นนักการเมืองระดับโลก หรือนักการเมืองบ้านเรา เป็นต้องเจอคนประเภทที่เขากล่าวถึง ไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง เห็นหน้าคุ้นๆกันอยู่ พูดให้ชัดเจนกว่านี้รังแต่จะทำให้ขุ่นข้องหมองใจกันเปล่าๆ
มองความขัดแย้งการเมือง ไทยผ่านแนวคิดมาคิอาเวลลี
วิเคราะห์สถานการณ์ความขัดแย้งและการต่อสู้ทางความคิดในการเมืองไทย ผ่านหลักคิดของ ของมาคิอาเวลลี ซึ่งเป็นปรัชญาที่เห็นว่า ความดี ความชั่ว ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริงในตัวเองหรือตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ปรุงแต่ง สร้างขึ้น

 สิ่งที่มาคิอาเวลลีได้แสดงให้เห็นอย่างเปิดเผยว่า เป็นการสอนแก่เจ้าผู้ปกครอง
แท้ที่จริง กลับเป็นการสอนแก่ประชาชน


ฌอง ฌากส์ รุสโซ
สัญญาประชาคม ตอนที่ 3 บทที่ 6
เป็น เรื่องน่าแปลกใจมากว่า ทั้งๆที่อยู่ในยุคสารสนเทศ เหตุใดชนชั้นนำผู้คุมอำนาจหลักในสังคมไทยปัจจุบัน จึงดูเหมือนไม่ยี่หระหรือสามารถ สัมผัสกับสามัญสำนึกของคนธรรมดาจำนวนมากในสังคมที่มีความเครียดหรือความไม่สบายใจ จากสภาพที่สังคมมีความขัดแย้งทางการเมืองอย่างสูงและยืดเยื้อ บทความนี้ไม่ได้ตอบคำถามนี้โดยตรง แต่อย่างที่ทราบกันไม่ยากว่า ในการเคลื่อนไหวของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ที่มีกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเป็นตัวแทนหนึ่ง ซึ่งล่าสุดได้นำไปสู่การจัดตั้งพรรคการเมืองใหม่นั้น มีนักรัฐศาสตร์ไทยบางคน เป็นผู้นำทางความคิดและการวางแผนข้อเสนอต่างๆ อย่างเรื่อง 30:70 หรือ 70:30 (เลือกตั้ง ส.ส.30-70% ที่เหลือมาจากจากอื่นๆ) การคิด ปิดเกมแบบแหกกรอบอย่างการยึดทำเนียบรัฐบาล -ยึดสนามบินสุวรรณภูมิ เป็นต้น นักรัฐศาสตร์ดังกล่าวต่างได้เคยล่ำเรียนและพร่ำสอนมาไม่น้อยเกี่ยวกับแนวคิด ของมาคิอาเวลลี (Machiavelli) ซึ่งมีฐานะเป็นบิดาปรัชญาการเมืองสมัยใหม่ แต่ปัญหามีอยู่ว่า แนวคิดของมาคิอาเวลลีก็เป็นแนวคิดที่มีการโต้เถียงตีความกันไปได้อย่างแตก ต่างหลากหลาย บทความนี้จะได้พิจารณาดูว่าการกำหนดแนวทางในการเคลื่อนไหวของฝ่ายอำมาตยา ธิปไตยที่นักรัฐศาสตร์บางคนไปเป็นกุนซือนั้น พอเทียบเคียงได้กับการนำแนวคิดของมาคิอาเวลลีมาใช้ในลักษณะใด จากนั้นจะได้เสนอว่า ฝ่ายประชาธิปไตยสามารถใช้บริการแนวคิดของมาคิอาเวลลีแบบที่ลึกกว่า เพื่อเป้าหมายการสร้างความสามัคคี สงบ หรือการสร้างชาติไทยที่มีเอกภาพเข้มแข็งต่อไปได้อย่างไร แต่ก่อนอื่นใด ผู้เขียนขอเริ่มจากสรุปแนวคิดทั่วไปของมาคิอาเลลีอย่างสังเขปก่อน
แนวคิดของมาคิอาเวลลีในงาน เรื่อง เจ้า ผู้ปกครอง” (The Prince)
แนวคิดหลักของมาคิอาเวล ลีเคยถูกเข้าใจอย่างสับสนว่า คือข้อเสนอให้ใช้วิธีการที่ชั่วร้ายใดๆก็ได้เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ทางการ เมือง จนเกิดความหมายของคำว่า มาคิอาเวลเลียนนิสม์ (Machiavellianism)ที่หมายถึง ลัทธินิยมความชั่วร้าย เจ้าเล่ห์เพทุบาย แต่ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับว่า แนวคิดของมาคิอาเวลลีเป็นเรื่องวิธีการทำงานการเมืองให้สำเร็จ หรือเสนอความจริงที่มีผล ไม่ใช่เสนอในสิ่งที่ขัดกับโลกความจริงที่ไม่มีผลในทางปฏิบัติใดๆ  สาระสำคัญของวิธีการทำการเมืองให้สำเร็จ มาคิอาเวลลีเสนอให้ใช้สิ่งที่เรียกว่า คุณค่า” (virtue) หรือคุณลักษณะที่เป็นเลิศที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย ซึ่งแก่นแท้ของคุณค่าคือความสุขุมรอบคอบ (prudence) นั่นเอง
ความคิดของมาคิอาเวลลีเรื่องคุณค่าซึ่งทำให้บรรลุเป้า หมายทางการเมือง ไม่ได้จำกัดความคิดว่า ต้องยึดในกรอบของศีลธรรม (หรือ virtue ในอีกความหมายซึ่งหมายถึง คุณธรรมความดีงาม) เพราะเป็นสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับความเป็นจริง  แต่นี่ไม่ได้หมายความว่า มาคิอาเวลลิเสนอความคิดแบบไร้ศีลธรรม (immoral) ประเด็นคือ เขาเสนอแบบไม่เกี่ยวข้องกับศีลธรรม (amoral) ต่างหาก เพราะคุณค่าหรือคุณลักษณะที่เป็นเลิศที่จะทำให้บรรลุเป้าหมาย นั้นไม่ได้มีความหมายเท่ากับคุณงามความดี  (คุณงามความดีอาจเป็นส่วนหนึ่งของคุณค่า แต่คุณค่ายังสามารถครอบคลุมสิ่งอื่นๆ อีกมากได้ เช่น ความชาญฉลาด ความกล้าหาญ)
อาจกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า ปรัชญาการเมืองของมาคิอาเวลลีเป็นปรัชญาที่เห็นว่า ความดี ความชั่ว ไม่ใช่สิ่งที่มีอยู่จริงในตัวเองหรือตามธรรมชาติ แต่เป็นสิ่งที่มนุษย์ปรุงแต่ง สร้างขึ้น ด้วยเหตุผลความจำเป็นในการอยู่ร่วมกันเพื่อประโยชน์สุขนั่นเอง ดังนั้น หากสถานการณ์มีความจำเป็นจริงๆ ที่จะต้องกระทำสิ่งที่เห็นกันว่าไม่ดีเพื่อยังประโยชน์ให้เกิดขึ้นในการ ปกครอง ผู้ที่สุขุมรอบคอบก็ต้องกระทำ นี่นับเป็นคุณค่าของผู้ปกครอง แต่แม้การกระทำที่ว่าไม่ดีนั้น ก็ใช่ว่าจะกระทำการอย่างขาดความสุขุมรอบคอบก็หาไม่ ตรงกันข้ามผู้ปกครองจะต้องพยายามดำเนินการใดๆที่เนียนพอที่ทำให้ศีลธรรรม ซึ่งเป็นที่มาส่วนหนึ่งของระเบียบสังคม ไม่ได้ถูกกระทบอย่างรุนแรง  เมื่อเจ้าผู้ปกครองจะทำสิ่งผิดศีลธรรม ก็ต้องลับ-ลวง-พรางไม่ทำให้ผู้อื่นเห็นว่าเจ้าผู้ปกครองเป็นคนไม่มีศีลธรรม
กล่าวได้ว่า มาคิอาเวลลีเสนอความความเข้าใจการเมืองตามที่มันเป็นจริงๆ โดยไม่ได้มีค่านิยมในใจไว้ล่วงหน้าในการเสนอคำตอบทางการเมือง หรือที่เรียกว่ามีลักษณะปลอดจากค่านิยม (value-free)และอาจดูเหมือนว่ามาคิอาเวลลีเสนอความ รู้ในการทำให้เป้าหมายทางการเมืองบรรลุผล โดยไม่ได้กล่าวถึงตัวเป้าหมายทางการเมืองโดยตรงเลย ซึ่งก็ปรากฏว่าที่ผ่านมา ผู้นำการเมืองสำคัญฝ่ายต่างๆ ในหลายประเทศก็ล้วนได้นำแนวคิดมาคิอาเวลลีมาใช้ในการดำเนินการเพื่อบรรลุ เป้าหมายทางเมืองของตน ปัญหาที่น่าสนใจคือ หากฝ่ายที่ต่อสู้กันทางการเมืองนั้นต่างฝ่ายต่างก็ใช้แนวคิดของมาคิอาเวลลี ด้วยเช่นกัน ผลจะเป็นอย่างไร สำหรับคำตอบสั้นๆ คือ คงขึ้นอยู่กับว่า ฝ่ายใดมีคุณค่า” (virtue) เหนือกว่ากัน นอกจากนั้น ยังเกี่ยวข้องกับเงื่อนไขภายนอกที่อยู่นอกเหนือการควบคุมหรือเป็นเหตุปัจจัย ผันแปรที่มาคิอาเวลลีเรียกเป็นศัพท์ว่า โชคชะตา” (fortune)นั้น จะสนับสนุนฝ่ายใดมากกว่า ทั้งนี้มาคิอาเวลลีเห็นว่า คุณค่าคือความสามารถในการเข้าใจบทบาทของโชคชะตา และมีปฏิสัมพันธ์กับโชคชะตาอย่างก่อให้เกิดผลดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ และนัยตรงข้ามคือลดผลร้ายของโชคชะตาให้มากที่สุดเทาที่จะมากได้ คุณค่าจึงเป็นเรื่องขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะหนึ่งๆ พื้นฐานของชัยชนะจึงอยู่ที่ความสามารถอ่านสถานการณ์เฉพาะได้ถูกต้องแม่นยำ และกำหนดการดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

เทียบเคียงยุทธศาสตร์ของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยกับงานเขียนของมาคิอาเวลลี
อย่างน้อย นับตั้งแต่ปี 2549 การวางตำแหน่งแห่งหนและยุทธศาสตร์ของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยมีลักษณะเทียบเคียง ได้กับการนำแนวคิดของมาคิอาเวลลีมาใช้ในลักษณะตรงไปตรงมา ดังเช่น การปฏิบัติที่สอดคล้องกับข้อความในคำสอนของมาคิอาเวลลีที่สอนให้เจ้าผู้ ปกครองต้องรู้จักที่จะต้องโกหก ไม่รักษาข้อตกลง     เจ้าผู้ปกครองต้องรู้จักทำตัวเหมือนสิงโตที่มีกำลัง และเหมือนสุนัขจิ้งจอกที่มีปัญญา จะต้องรู้วิธีระบายสีให้เรื่องราว ผิดไปจากความเป็นจริง และจะต้องเป็นคนมือถือสากปากถือศีล และเป็นนักหลอกลวงที่ยิ่งใหญ่” “เขาจะต้องมีทีท่าว่าเต็มไปด้วยความสงสาร การรักษาข้อตกลง ความสัตย์ซื่อ ความเมตตากรุณา และเคร่งศาสนาเพราะมนุษย์โดยทั่วไป จะตัดสินกันด้วยตามากกว่าด้วยมือ ขณะที่ทุกคนสามารถเห็นเจ้าผู้ปกครอง แต่มีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะสัมผัสเจ้าผู้ปกครองได้จริง ๆ
ยุทธศาสตร์ของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยที่ไม่ประนีประนอม หรือเดินเกมแบบชนะฝ่ายเดียว และผู้ชนะได้หมด (zero –sum game) นับแต่การยุบพรรคไทยรักไทย ยุบพรรคพลังประชาชน ทำให้พรรคการเมืองที่เป็นตัวแทนฝ่ายตนเข้ามามีอำนาจแทน ฯลฯ และสถานการณ์ล่าสุดที่มีแนวโน้มสูงที่จะมีการยึดทรัพย์สินทั้งหมดของอดีต นายกรัฐมนตรี พ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร นั้น กล่าวได้ว่า น่าจะเป็นการดำเนินการที่สอดคล้องกับคำสอนของมาคิอาเวลลีที่ว่า ในการดำเนินการกับศัตรู จะต้องไม่ทำร้ายแต่เพียงเล็กน้อย ซึ่งทำให้สามารถกลับมาแก้แค้นได้ เจ้าผู้ปกครองจะต้องทำร้ายให้ราบคาบชนิดที่ทำให้เจ้าผู้ปกครองไม่ต้องหวาด เกรงอริอีกต่อไป
คำสอนของมาคิอาเวลลีที่ให้ดำเนินการแบบเด็ดขาด ไม่ทำแบบครึ่งๆ กลางๆ นั้นยังกล่าวได้ว่าสอดคล้องกับคำสอนแบบวิถีไทยทิศทางหนึ่งที่สะท้อนอยู่ใน กลอนของสุนทรภู่ที่ว่า
ประเพณีตีงูให้หลังหัก       มันก็มักทำร้ายเมื่อภายหลัง
จระเข้ใหญ่ไปถึงน้ำมีกำลัง อันเสือขังเข้าถึงดงก็คงร้าย
อันแม่ทัพจับได้แล้วไม่ฆ่า  ต่อภายหน้าศึกจะใหญ่ขึ้นใจหาย
ต้องตำรับจับให้มั่นคั้นให้ ตาย           จะทำภายหลังยากลำบากครัน
อย่างไรก็ตาม สำหรับประเด็นการยึดทรัพย์นั้น มาคิอาเวลลีเสนอว่า เจ้าผู้ปกครองควรทำลายชีวิตศัตรูมากกว่ายึดทรัพย์ เนื่องจากคนที่ตายแล้ว ย่อมไม่สามารถมาแก้แค้นเอาคืนได้ กรณีกับอดีตนายกรัฐมนตรีนั้น จะเห็นว่า ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยได้พยายามในการลอบสังหารอดีตนายกรัฐมนตรีมาหลายครั้งก่อน หน้าการรัฐประหารเมื่อ 19 กันยายน 2549 หากพิจารณาจากวิธีคิดที่ผ่านมาแล้ว เชื่อว่าความพยายามขจัดพ.ต.ท.ทักษิณ ยังคงมีอยู่ต่อไป     เพราะฝ่ายอำมาตยาธิปไตยมองว่า การเคลื่อนไหวของฝ่ายประชาธิปไตยที่สร้างปัญหากระทบต่อฝ่ายอำมาตยาธิปไตย อย่างหนักนั้นสาเหตุมาจากคนๆเดียวคือ พ.ต.ท.ทักษิณ
การที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยเลือกยุทธศาสตร์แบบเทหมดหน้าตัก ไม่ยอมประนีประนอมใดๆ อันน่าจะถูกกำหนดมาจากสภาวะทางจิตวิทยาที่รู้สึกไม่มั่นคงหรือมีความกลัว อย่างสูง (ภยาคติ) ทิศทางการเคลื่อนไหวของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยจึงกลับมีลักษณะสอดคล้องกับคำสอน ของมาคิอาเวลลีที่กล่าวถึงการใช้พลังอำนาจอย่างสุดๆ เฉียบขาด ไม่บันยะบันยัง แต่เป็นที่น่าสงสัยว่า ยุทธศาสตร์และท่าทีหลักของฝ่ายอำมาตยาธิปไตยที่กล่าวมาสะท้อนถึงเนื้อแท้ เรื่อง คุณค่าตามแนวคิดของมาคิอาเวลลีจริงหรือไม่ เพราะแนวคิดเรื่องคุณค่าของมาคิอาเวลลีไม่ได้กำหนดเป็นสูตรตายตัวในหนังสือ แต่ขึ้นกับบริบทสถานการณ์
ฝ่ายประชาธิปไตยจะสามารถใช้แนวคิดมาคิอาเวลลีในลักษณะใด
บทเรียนสำคัญอันหนึ่ง ของประชาชนที่ยึดมั่นในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขในการ เคลื่อนไหวเมื่อเมษายน 2552 ในทัศนะของผู้เขียนคือ การยังขาดความสุขุมรอบคอบอย่างเพียงพอ เมื่อเทียบกับการวางแผนที่แยบยลของฝ่ายอำมาตยาธิปไตย ในแง่หนึ่ง แกนนำฝ่ายประชาธิปไตยมีแรงกดดันจากมวลชนที่ต้องการชนะเร็วๆ เพราะรับไม่ได้กับความไม่ชอบธรรมทางการเมืองที่เกิดขึ้นต่อเนื่องมาหลายปี โดยเฉพาะจากมวลชนกลุ่มผู้ยากไร้ทางเศรษฐกิจที่ต้องการให้ผู้นำฝ่าย ประชาธิปไตยที่มีความสามารถในการบริหารจัดการปัญหาเศรษฐกิจกลับเข้ามามี บทบาทในการบริหารประเทศ ไม่แปลกแต่อย่างใดที่ประชาชนผู้ยากจนจะมีภาวะทางจิตวิทยาที่รู้สึกว่า หนึ่งวันที่ชีวิตเขาต้องทนทุกข์มันมีผลร้ายและมีความรู้สึกยาวนานกว่าหนึ่ง วันของคนที่มีชีวิตร่ำรวยอยู่สุขสบายปัญหาที่แกนนำฝ่ายประชาธิปไตยจะต้องตระหนักคือจะทำอย่างไรหากการต่อสู้เพื่อ สถาปนาระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขให้ตั้งอยู่ได้อย่าง มั่นคง ยั่งยืน อาจต้องใช้เวลาที่ทอดนานออกไป
เมื่อเปรียบเทียบกรอบทางเลือกในการเคลื่อนไหว ฝ่ายประชาธิปไตยมีธรรมชาติที่เป็นข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวในตัวเองมากกว่า ฝ่ายอำมาตยาธิปไตย กล่าวคือ การเมืองแบบประชาธิปไตยนั้นเป็นการเมืองแห่งการประนีประนอม การเมืองแห่งการให้อภัย การเมืองแห่งขันติธรรม การเมืองที่ยึดหลักนิติธรรมโดยแท้ (ไม่ใช้แค่ลมปากหรือวาทะศิลป์ลวงโลก) การเมืองแห่งสันติวิธี การเมืองที่อาศัยการเสนอข้อเท็จจริงและการโต้แย้งแลกเปลี่ยนด้วยเหตุด้วยผล การเมืองที่คิดแบบชนะทุกฝ่าย (win-win solution)
กล่าวโดยสรุป ฝ่ายประชาธิปไตยมีเป้าหมายและอุดมการณ์ทางการเมืองที่กำหนดกรอบในการเคลื่อน ไหวที่ทำให้ไม่เหมาะสมที่จะไปเลือกประกาศ สงครามครั้งสุดท้ายหรือประกาศ ชัยชนะแบบที่ฝ่ายอำมาตยาธิปไตยทำเมื่อปลายปี 2551
แต่อันที่จริง มองในอีกด้านหนึ่ง ธรรมชาติที่เป็นข้อจำกัดของฝ่ายประชาธิปไตยนั้นกลับเป็นจุดแข็งของฝ่าย ประชาธิปไตยเองด้วยเช่นกัน  เพราะลักษณะท่าที หลักการเคลื่อนไหวแบบประชาธิปไตยย่อมต้องสอดคล้องกับตัวระบอบปกครองนั่นเอง นั่นคือการเคารพและยืดถือการมีส่วนร่วมจากประชาชนอย่างกว้างขวาง ดังนั้น ขบวนการเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยจึงมีโอกาสสูงที่สุดในการระดมคุณค่า” (virtue) หรือคุณลักษณะที่เป็นเลิศที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายจากประชาชนจำนวนมากมายที่ สุด






                          





1 ความคิดเห็น:

  1. น่าอภิปรายในประเด็นสำคัญ ‘ทำไมสถาบันการศึกษาจีงมีนโยบายที่จะไม่กล่าวถึงลัทธิหรือปรัชญาการบริหาร จัดการในหลักคิดของปรัชญา Machiavellianism อภิปราย สรุปโดยทีม~TBL

    ตอบลบ