วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง!!

7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง!!
หากกล่าวถึงหนังสือที่มีอิทธิพลสูงต่อการขับเคลื่อนไปสู่ความเจริญก้าวหน้าของพลโลก เชื่อว่าคงมีมากเกินกว่าจะนับได้ พูดโดยรวมอาจยากจะแยกแยะ แต่เมื่อกล่าวลึกลงไปถึงแต่ละประเภทแล้ว หนังสือแนว ฮาวทู นับว่าได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สำหรับผู้บริหารของแต่ละองค์กร เนื่องจากสังคมโลกยุคปัจจุบัน ภาวะการแข่งขันทั้งในทางเศรษฐกิจและความมั่นคง เป็นเรื่องที่ผู้ดำรงอยู่ในตำแหน่งดังกล่าวต้องคอยติดตาม แม้อาจไม่ทั้งหมด แต่คงไม่มีใครปฏิเสธว่า หลายๆ เคล็ด(ไม่)ลับ ก็เป็นแนวทางที่อาจนำไปสู่ความสำเร็จได้
“7 อุปนิสัย สำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง The 7 Habits of Highly Effective people” คือผลงานของ ดร.สตีเฟน โควีย์ บุคคลซึ่งได้รับการคัดเลือกจากนิตยสารไทมส์ ให้เป็นบุคคลที่ทรงอิทธิพลทางความคิดมากที่สุดคนหนึ่งของโลก งานเขียนชิ้นนี้ของเขานับเป็นหนังสือฮาวทูอีกเล่มที่ได้รับความนิยมสูง ตีพิมพ์เผยแพร่ไปแล้วทั่วโลกกว่า 38 ภาษา มียอดขายรวมกว่า 15 ล้านเล่ม อะไร?ทำให้หนังสือเล่มนี้มีคนอ่านมากมายขนาดนั้น คำตอบน่าจะอยู่ที่เนื้อหาของหนังสือเพราะเมื่อได้อ่านแล้วจะพบว่า ไม่ใช่เพียงผู้บริหารหรือมหาเศรษฐีเจ้าของธุรกิจพันล้าน ที่ ดร. โควีย์ ต้องการให้อ่าน แต่เป็นคนทุกคนที่ควรอ่านและเมื่ออ่านแล้วจะสามารถนำสารที่เขาถ่ายทอดไว้มาใช้ในชีวิตประจำวันได้หรือไม่ หากความเข้าใจมีมากพอ การเป็น ผู้ทรงประสิทธิผลยิ่งก็ไม่น่าจะเป็นเรื่องยากจนเกินไป
นิสัย ทั้ง 7 ประกอบด้วย
1. ต้องเป็นฝ่ายเริ่มต้นทำก่อน (Be Proactive)
เวลาที่เราต้องการอะไร หรือต้องการจะเริ่มอะไรสักอย่าง จะต้องมีตัวกระตุ้น และตัวกระตุ้นจะทำให้เกิดการตอบสนอง ดังนั้น หากเราเป็นผู้เริ่มก่อน หรือเป็นตัวกระตุ้น การตอบสนองจะตามมา แต่การที่เราจะทำสิ่งใด ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่ทุกคน สามารถยอมรับได้
(เช่น การไปเรียนที่มหาลัยด้วยตัวเอง เข้าทุกคลาสแม้จะไม่เช็คชื่อ เพราะเราเป็นผู้เริ่ม ผู้ตัดสินใจ)
2. เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ (Begin with the End in Mind)
การที่เราจะเริ่มต้น ก่อนอื่นมันมักจะมาจากสิ่งที่เราคิดในใจ หลักของ "เริ่มต้นด้วยจุดมุ่งหมายในใจ" นั้นคือการทำสองครั้ง ครั้งแรกเกิดขึ้นในจิตใจ และครั้งที่สอง คือการทำให้สิ่งที่เราคิดเป็นจริง แต่การที่เราจะทุ่มแค่แรงใจอย่างเดียวก็ไม่สามารถเกิดประสิทธิผลได้ มันอยู่กับว่าเราเทความพยายามไปในสิ่งที่ถูกต้องหรือไม่ และต้องมีศูนย์รวมในตนเองและเป็นการที่เราดำเนินชีวิต และตัดสินใจได้จากฐานความชัดเจนในเป้าหมายชีวิตของเรา สามารถปฏิเสธอย่างไม่รุ้สึกผิดหากสิ่งนั้นไม่ตรงเป้าประสงค์หลักของเรา


3. ทำตามลำดับความสำคัญ (Put First Things First.)
อุปนิสัยที่ 3 เป็นเหมือนภาคปฏิบัติของ อุปนิสัยที่ 1 และ 2 ซึ่งมีทั้ง การจัดการบริหารเวลา, รู้จักปฏิเสธ, ตารางเวลา เพื่อให้เราทำสิ่งที่สำคัญมากที่สุดก่อน วิธีง่ายๆ ที่จะลองทำคือ เขียนรายชื่อสิ่งที่เราอยากทำ และ เราควรทำ ทำสัญญาลักษณ์แบ่งมันออกเป็น 3 ระดับ คือ สำคัญมากเร่งด่วน, สำคัญมากแต่ไม่เร่งด่วน, ไม่สำคัญมากแต่เร่งด่วน. และทำตามลำดับ สิ่งที่เป็นปัญหาคือเรามักจะถูกแทรกแซงความสนใจไปกับเรื่องที่เร่งด่วนแต่ อาจไม่สำคัญต่อเป้าหมายหลัก ส่วนเรื่องที่สำคัญแต่ไม่เร่งด่วน เป็นการช่วยทำให้เพิ่มศักยภาพต่อการบรรลุเป้าหมายเช่น การออกกำลังกาย ใช้เวลาเพื่อการทบทวนเนื้อหาวิชานั้นเราละเลยไป เชื่อว่าหากเราค้นว่า "สิ่งใดที่จะทำให้เป้าหมายสำเร็จได้ดีขึ้น ณ วันนี้" เราจะทำสิ่งนั้นได้ และจะชัดเจนในการจัดการสิ่งที่เร่งด่วนแต่ไม่สำคัญต่อเป้าหมายเราได้
4. คิดแบบ ชนะ/ชนะ (Think Win-Win)
จริงๆ แล้วมนุษย์มีกรอบความคิด 6 แบบที่กระทำต่อกัน หนึ่งในนั้นคือ การคิดแบบชนะ/ชนะ คือไม่มีผู้แพ้ เป็นข้อตกลงหรือการแก้ไขปัญหาต่างๆ เป็นไปเพื่อให้ทุกฝ่ายได้รับประโยชน์ทั้งสองฝ่าย แต่อย่างไรเสีย ก็ขึ้นอยู่กับสถาณการณ์แต่ละสถาณการณ์ ว่าควรใช้แบบอื่นหรือไม่ หากไม่สามารถหาข้อตกลงแบบ คุณก็ชนะ ฉันก็ชนะได้ ก็ตกลงว่า "จะไม่ตกลง" ณ ขณะนี้เพื่อลดสถานการณ์ที่ มีผู้หนึ่งผู้ใดต้องแพ้ จุดตั้งต้นคือต้องเห็นคุณค่าในตนเอง และเห็นความproactiveที่มีค่าของผู้อื่น (I'm Ok, You're Ok.)บทนี้เน้นการแก้ปัญหาโดยศาลควรเป็นทางเลือกท้ายสุดเพราะมีเพียง แพ้ หรือ ชนะ เท่านั้น
5. เข้าใจคนอื่นก่อนจะให้คนอื่นเข้าใจเรา (Seek First to Understand, Then to be Understood.)ก่อนบอกความต้องการหรือสิ่งที่เราคิดแล้วอยากให้ผู้อื่นยอมรับ เราต้องให้ความสำคัญและเข้าใจมุมมองของผู้อื่นต่อเรื่องนั้นๆอย่างลึกซึ้ง ก่อน ลดการปะทะกัน
 6. ประสานพลังสร้างสิ่งใหม่ (Synergize)เกิดจากการยอมรับในคุณค่าของตนเอง และเข้าใจในความแตกต่างที่ผู้อื่นมีมุมมอง ลดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างไม่สร้างสรรค์ซึ่งปิดกั้นความคิดดีๆของกลุ่มคนที่ อยู่ด้วยกัน มีเพียงความพยามในการเข้าใจในสิ่งที่ตอนแรกเหมือนจะไม่เห็นด้วยเท่านั้น
 7. ลับเลื่อยให้คมอยู่เสมอ (Sharpen the saw)
การกระทำตามอุปนิสัยว่ายากแล้ว แต่การกระทำซ้ำๆ ให้สม่ำเสมอนั้นยากยิ่งกว่า เราจึงควรทำซ้ำเสมอ เหมือนการลับเลื่อยให้แหลมคมตลอดเวลา มีการเติมพลังใจ เชื้อเพลิง แรงบันดาลใจเสมอๆ



เพียงแค่หัวข้อของแต่ละบทแต่ละอุปนิสัยก็น่าสนใจแล้วแต่เนื่องจากงานเขียนเล่มนี้ ผู้สร้างขึ้นมาคือชาวต่างชาติ ดังนั้นวิธี ทั้ง 7 ที่เขาแนะนำจะเหมาะกับสังคมเราหรือไม่ ?ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล ประธานมูลนิธิประเทศ ไทยใสสะอาด ดนัย จันทร์ เจ้าฉาย กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์ดีเอ็มจี และนิลุบล หฤทัยวิจิตรโชค วิทยากรบรรยาย 7 Habits of Highly Effective People ของกลุ่มบริษัทแพคริม ได้ร่วมพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องนี้ในมุมมองของผู้บริหารและนักการตลาดรุ่นใหม่ ดนัย มองหนังสือของดร.โควีย์ว่าเขามีวิธีการนำเสนอที่ง่าย เดินตามได้ไม่ยาก แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องนิยมฝรั่งเสียหมด สิ่งที่ผมสนใจหนังสือเล่มนี้ เพระว่าทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นในประเทศเกาหลีใต้ เป็นหนังสือที่บรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนที่นั่น เห็นได้ชัดเจนว่าประเทศเขาพัฒนาได้เร็วมาก หากเปรียบเทียบในระดับเวทีโลก เกาหลีใต้ได้รับการยอมรับใกล้เคียงกับญี่ปุ่นเลยดนัยกล่าวต่อไปว่า เขาได้ทำการศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมและพบว่า สิงคโปร์เป็นอีกประเทศหนึ่งที่ ครูใช้หนังสือเล่มนี้สอนนักเรียน และผู้ถือลิขสิทธิ์ คือ กระทรวงศึกษาธิการ
ตัวเขาชอบในแนวคิดที่มีอยู่ในหนังสือ จะเรียกว่าเป็นหนังสือธรรมะที่ฝรั่งเขียนก็ได้
หนังสือเล่มนี้จะว่าด้วยเรื่อง เกิดมาเป็นคนเหมือนกัน แต่ทำไมมีความแตกต่างกัน นั่นเพราะคนเราเกิดมาจะมีกล่องของขวัญติดมาด้วย 3 กล่องหมายถึงความจริง 3 หลักใหญ่ๆ ดังนี้
ข้อแรก ทุกคนมีกรรมนำมาเกิด คนทุกคนเป็นผู้กำหนดกรรมและรับผลของกรรมนั้นเอง ซึ่งตรงกับหลักพระพุทธศาสนา
ข้อที่ 2 เป็นหลักความจริงที่เป็นสากล คือ อกาลิโก อยู่ข้ามกาลเวลา โดยยกตัวอย่างว่า สองพันปีที่แล้ว หรืออีกพันปีข้างหน้า ความดีก็คือความดี ความชั่วก็คือความชั่ว กตัญญูก็คือกตัญญู เราสนับสนุนเรื่องนี้ เพราะเป็นสิ่งที่ดี ถ้าถามว่าจำเป็นต้องอ่านหนังสือเรื่องนี้ไหม ก็ไม่ เพราะเราต่างก็รู้อยู่แล้ว เพียงแต่ในบางครั้ง เราก็ละเลยสัจธรรมเหล่านี้ไปและหลักความจริงข้อที่ 3 ที่ดร. โควีย์ยกมากล่าว คือ สติปัฐฐาน 4 “ เขาพูดถึง กาย ภาวนา จิต ธรรม แต่ฝรั่งใช้คำว่า บอดี้ ,ฮาร์ท,มายด์,ไอคิว อีคิว เนื่องจากเป็นเรื่องที่เสนอแก่ชาวต่างชาติ จึงต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจด้วยหลักที่เป็นสากลในฐานะบุคคลที่ถวายงานใต้เบื้องพระยุคลบาทอย่างใกล้ชิด ดร. สุเมธ มีความเห็นเกี่ยวกับ 7 ฮาบิทส์ฯ ว่า เป็นเรื่องดี ที่มีการตีพิมพ์หนังสือเล่มดังกล่าวขึ้นเพราะ ทำให้เราได้รู้ว่าอะไรควรไม่ควรแต่ก็มองว่า คนไทยเรามีดีอยู่เยอะ แต่น่าประหลาดใจหรืออาจเรียกได้ว่าเป็นเรื่องที่น่าเศร้าใจก็คือ เราไม่ค่อยสนใจภูมิปัญญาของเราเอง ไม่สนใจความเป็นปราชญ์ของเรา ต้องรอให้ฝรั่งเขามาประมวล มาชี้นำ แล้วเราก็เดินตาม บางครั้งบางคราวก็เดินตามโดยไม่ใช้ปัญญาดร.สุเมธ ยืนยันว่า หนังสือของโควีย์ มาจากหลักความคิดทางพระพุทธศาสนา คนไทยมีสิ่งนี้อยู่แต่เข้าไม่ถึง ต้องรอให้ฝรั่งมานำทาง ดร. สุเมธกล่าวอีกว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สอนเรามานานแล้ว แต่คนไทยไม่ค่อยมีใครสนใจ และขาดการประมวลเป็นรูปเล่ม พระองค์ท่านตระหนักอย่างลึกซึ้งมากในเรื่องเหล่านี้นอกจากนี้ ได้ยกกรณีปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ขึ้นมากล่าว ว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับสั่งอยู่เสมอ ว่าการจะทำโครงการอะไรก็ตามต้องให้ความเคารพกับภูมิสังคม ภูมิประเทศ และสภาพแวดล้อมรอบๆ การพัฒนาต้องตั้งอยู่บนฐานของความเข้าใจและเข้าถึง ไม่ใช่เราเป็นฝ่ายเข้าถึงเขาฝ่ายเดียวแต่ต้องให้เขาเข้าถึงเราด้วย ต้องให้เขาเต็มใจที่จะเปิดใจรับเรา นี่เป็นเรื่องสำคัญที่เรามองข้ามไป เพราะเอะอะอะไรก็ไปหาเขาไปแนะเขา

ดร.สุเมธพูดถึงธรรมะว่า ธรรมะคือธรรมชาติ คือสิ่งธรรมดาสามัญ เมื่อมนุษย์เกิดมาแล้วต้องยึดเหนี่ยวไว้ อย่างเช่นอุปนิสัยทั้ง 7 ประการนี้ หากไม่ยึดไว้ ชีวิต ก็ล่องลอยไร้แก่นสารอย่างเช่นข้อที่บอกว่า คนเราควรกำหนดเป้าหมายไว้ในใจ ก็คือการวางแผนชีวิต ถ้าไม่วางแผน ก็เหมือนกับปล่อยชีวิตไปตามยถากรรม ผลสุดท้ายตัวเราอาจจะหลงทางก็ได้ แต่ใช่ว่าจะต้องไปวาดหวังที่จะเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ เพราะทุกสิ่งในโลกล้วนเป็นของลวงตา สิ่งที่จะอยู่กับเราคือความสุขต่างหาก ประสบความสำเร็จในชีวิต ใช่ว่าจะมีความสุขเสมอไป สำหรับนิลุบล กล่าวถึงภาวะผู้นำ ว่าหลักการต่างๆ เหล่านี้ ตายตัว เป็นไปตามธรมชาติ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนในโลก ประเทศใดก็ตาม หลัก เหล่านี้ใช้ได้เสมอ โดยยกตัวอย่างของอุปนิสัยข้อที่ 7. คือ ลับเลื่อยให้คม หมายถึง อะไรก็ตามถ้าหากเราใช้ไปโดยไม่หยุดพัก เมื่อถึงวันหนึ่งก็จะชำรุดไม่สามารถใช้งานได้ต่อไป ลับเลื่อยให้คมจึงเป็นการให้พลังกับชีวิต ถ้าเลื่อยมันทื่อเพราะใช้งานหนัก ก็ลับบ้าง ทั้งด้านร่างกาย วิญญาณ สติปัญญาเพราะถึงที่สุดแล้ว ชีวิตต้องมีความสมดุล จึงจะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขขอส่งท้ายด้วยบางส่วนจากคำนำของ ดร.สตีเฟน โควีย์ ในหนังสือ 7 ฮาบิทส์ฯ สำนวนการแปลโดย นพดล เวชสวัสดิ์
“ ...คำถามที่ผู้คนยกมาถามผมบ่อยครั้ง 7 อุปนิสัยสำหรับผู้ทรงประสิทธิผลยิ่ง นำมาปรับใช้ในยุคนี้ได้หรือไม่? ...คำตอบของผมคือ ยิ่งความเปลี่ยนแปลงมีขนาดใหญ่ขึ้น ปัญหาท้าทายสาหัสมากขึ้น อุปนิสัยทั้ง 7 นี้ ก็ยิ่งทวีความสำคัญเป็นเงาตามตัว เหตุผลก็คือ ปัญหาของเรา ความเจ็บปวดของเราเป็นสากล หนทางแก้ปัญหาจักต้องอยู่บนรากฐานของหลักการสากล อกาลิโก ประจักษ์ชัดในตนเอง...นี่คือคำตอบและคำยืนยันจากบุคคลผู้ทรงอิทธิพลทางความคิดคนหนึ่งของโลก เมื่อได้อ่านแล้ว คงไม่อาจปฎิเสธได้ว่า หลักธรรมทางพุทธศาสนามีอิทธิพลต่อตัวเขาเช่นกัน แล้วบ้านเมืองเราที่ถือได้ว่าเป็นเมืองพุทธเล่า? สำนึกรู้ได้เพียงสักเสี้ยวหนึ่งบ้างไหม หรือมัวลุ่มหลงให้ความสำคัญกับความเจริญทางวัตถุ จนมองไม่เห็นสิ่งมีค่าที่อยู่ใกล้ๆ เรานี่เอง สิ่งที่เป็นหลักธรรมคำสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น