วันจันทร์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2555

ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax)

1.             ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (Value Added Tax)


สาระสำคัญ
1.       ภาษีมูลค่าเพิ่มคือภาษีที่ถูกจัดเก็บจากสัดส่วนของมูลค่าของสินค้าหรือบริการที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนของการผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ
2.       ภาษีมูลค่าเพิ่มถูกนำมาใช้ในปี พ.. 2535 เนื่องจากสามารถขจัดปัญหาภาษีซ้ำซ้อน มีความเป็นกลางทางเศรษฐกิจ เอื้ออำนวยต่อการลงทุนและการส่งออก และมีกลไกป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี
3.       บุคคลที่มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มคือ ผู้ประกอบการ และผู้นำเข้า ซึ่งรวมไปถึงผู้ผลิต ผู้ให้บริการผู้ขายส่ง ผู้ขายปลีก ส่งออก ผู้นำเข้า ซึ่งมีฐานภาษาของกิจการขนาดย่อมขึ้นไป (รายได้เกิน 1,200,000 บาท ขึ้นไป) ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล คณะบุคคล ห้างหุ้นส่วนสามัญ กองมรดก องค์การของรัฐบาล หรือหน่วยงานอื่นได้
4.       กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม ได้แก่กิจการที่ปรากฏตามมาตรา 81
5.        กิจกรรมเกี่ยวกับการขายสินค้าหรือบริการมีขั้นตอน เช่น การส่งมอบสินค้า การชำระเงินทั้งหมด การชำระเพียงบางส่วน ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มจะเกิดขึ้นเมื่อใดนั้นกฎหมายกำหนดไว้ชัดเจน โดยแยกตามประเภทของกิจการ เช่น กิจการขายสินค้า การใช้บริการ การนำเข้า และการขายหรือการให้บริการบางประเภท
6.        ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม หมายถึง มูลค่าของสินค้าและบริการที่จะนำไปคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสามารถแบ่งประเภทตามลักษณะของสินค้าและบริการ
7.        อัตราภาษีมูลค่าเพิ่มแบ่งได้ 2 อัตราคือ อัตราร้อยละ 10 ซึ่งปัจจุบันใช้อัตราร้อยละ 7 และอัตราร้อยละ 0
8.        การคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มได้จาก ภาษีขาย ภาษีซื้อ
9.        ใบกำกับภาษี คือ เอกสารหลักฐานที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มมีหน้าที่ต้องจัดทำและออกให้กับผู้ซื้อสินค้า หรือผู้รับบริการทุกครั้งที่ขายสินค้าหรือให้บริการ และต้องจัดทำอย่างช้าในทันทีที่ความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้น เพื่อแสดงมูลค่าของสินค้าหรือบริการ และจำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่ผู้ประกอบการเรียกเก็บจากการขายสินค้าหรือให้บริการในแต่ละครั้ง
10.    ใบเพิ่มหนี้ ถือเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่ง กิจการจะออกใบลดหนี้เมื่อได้ขายสินค้า บริการไปแล้วและได้นำส่งภาษีขายไปแล้ว แต่ต่อมาอาจจะต้องมีการเพิ่มราคาสินค้าที่ขาย ซึ่งอาจเนื่องมาจาก คำนวณราคาผิดต่ำกว่าความเป็นจริง เป็นเหตุให้ภาษีขายต่ำไป เป็นต้น
11.    ใบลดหนี้ ถือว่าเป็นใบกำกับภาษีอย่างหนึ่ง กิจการจะออกใบลดหนี้เมื่อได้ขายสินค้าหรือบริการและได้นำส่งภาษีขายไปแล้ว แต่ต่อมาต้องลดราคาสินค้าที่ขายหรือค่าบริการ ทำให้ภาษีขายมีจำนวนลดลง โดยออกให้แก่ผู้ซื้อสินค้าหรือบริการ
12.    ภาษีต้องห้ามหมายถึง ภาษีซื้อที่ไม่สามารถนำไปหักจากภาษีขายไม่ได้ตามาตรา 82/5 และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 42 และฉบับที่ 29






 ภาษีมูลค่าเพิ่ม  (Value Added Tax หรือใช้ตัวย่อว่า  VAT)  คือภาษีที่รัฐบาลเรียกเก็บจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นในแต่ละขั้นตอนการผลิตสินค้าหรือบริการ และการจำหน่ายสินค้าหรือบริการชนิดต่าง ๆ โดยผู้ประกอบการเป็นผู้มีหน้าที่เก็บจากลูกค้า  แล้วนำภาษีมูลค่าเพิ่มไปชำระให้แก่รัฐบาล  ผกาพรรณ  พรหมสาขา ณ สกลนคร ให้ความหมายภาษีมูลค่าเพิ่มว่า ภาษีมูลค่าเพิ่ม  หมายถึง  ภาษีที่เก็บจากการขายสินค้าและบริการของผู้ผลิตสินค้า หรือผู้บริการ  ผู้นำเข้า  โดยจัดเก็บเฉพาะมูลค่าที่เพิ่มขึ้น  การจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มมีขอบเขตกว้างขวาง และครอบคลุมทุกขั้นตอนในการผลิตการจำหน่ายและให้บริการ เบญจมาศ  อภิสิทธิ์ภิญโญ  และคณะ กล่าวถึงภาษีมูลค่าเพิ่มว่า      ภาษีมูลค่าเพิ่ม  เป็นการเก็บภาษีจากการขายสินค้าหรือการให้บริการในแต่ละขั้นตอน               การผลิตและจำหน่ายสินค้าหรือบริการเหล่านั้น  ทั้งที่ผลิตภายในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ  โดยส่วนที่เก็บเพิ่มนั้นเรียกว่า  “มูลค่าเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มจึงเป็นภาษีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มจะทำการเรียกเก็บจากผู้ซื้อสินค้าหรือรับบริการต่างๆ   ที่เป็นคนสุดท้าย รวมถึงการเก็บภาษีทุกขั้นตอนของการผลิตหรือการขายสินค้าหรือการให้บริการ จากนั้นผู้ประกอบการจะนำภาษีที่เก็บได้ส่งให้กับสรรพากรทุกเดือน    
สรุป   ภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นภาษีที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคที่เป็นผู้ซื้อสินค้าทั้งที่ผลิตในประเทศและต่างประเทศหรือเป็นผู้ได้รับบริการคนสุดท้าย  ผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ผู้บริโภคคนสุดท้ายจะจ่ายภาษีซื้อ 7% ในตอนซื้อสินค้า  และเรียกเก็บภาษีขาย 7% ในตอนขายสินค้า เมื่อสิ้นเดือนจะนำภาษีซื้อและภาษีขายมาหักลบกัน  ผลต่าง หากภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายจะเป็น ลูกหนี้-สรรพากร  หรือ  ภาษีขายมากกว่าภาษีซื้อ  จะเป็น  เจ้าหนี้-สรรพากร
1.3 ผู้มีหน้าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม

ผู้ประกอบการที่ขายสินค้าหรือให้บริการในทางธุรกิจหรือวิชาชีพเป็นปกติธุระ ไม่ว่าจะประกอบกิจการในรูปของบุคคลธรรมดา คณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือนิติบุคคลใด ๆ หากมีรายรับจากการขายสินค้าหรือให้บริการเกินกว่า 1.2 ล้านบาทต่อปี มีหน้าที่ต้องยื่นคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อเป็นผู้ประกอบการจดทะเบียน โดยคำนวณภาษีที่ต้องเสียจากภาษีขายหักด้วยภาษีซื้อ

1.2 ประวัติความเป็นมา

            ภาษีมูลค่าเพิ่มเดิมนั้นรัฐบาลเรียกว่า ภาษีการค้า ซึ่งจัดเก็บภาษีมาตั้งแต่ปี 2475 โดยจัดเก็บจากยอดรายรับและยอดขายทั้งหมด ในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2535 ประเทศไทยได้เริ่มมีการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นครั้งแรกการนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้เป็นผลมาจากเหตุผลในทางเศรษฐกิจ กล่าวคือ จากการที่เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว ฐานะทางเศรษฐกิจการเงินการคลังของประเทศมั่นคงขึ้นมาก ในขณะที่มีการกล่าวถึงความไม่เหมาะสมของโครงสร้างภาษีการค้าต่อเศรษฐกิจของประเทศ อันได้แก่ความซ้ำซ้อนของระบบภาษีการค้าที่เป็นอยู่ และความหลากหลายของโครงสร้างอัตราภาษีนอกจากความบกพร่องของระบบภาษีการค้า ซึ่งไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในอนาคตแล้ว ความต้องการเปลี่ยนแปลงระบบภาษีของทางการ ยังสืบเนื่องมาจากเหตุผลทางด้านภาษีอากรอีกด้วย กล่าวคือ ความสามารถในการหารายได้ของรัฐผ่านเครื่องมือทางภาษีการค้าและภาษีศุลกากรได้ลดน้อยลงเป็นลำดับ
            ด้วยเหตุผลดังกล่าว กระทรวงการคลัง จึงได้เสนอพิจารณายกเลิกภาษีการค้า และนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้แทน โดยภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าวจะมีอัตราเดียวที่ใช้กับสินค้าและบริการทุกชนิด สำหรับสินค้าใดที่มีเหตุผลทางเศรษฐกิจที่จะเก็บสูงกว่าอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เก็บภาษีสรรพสามิตเพิ่มเติมจากภาษีมูลค่าเพิ่ม
การนำภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้นี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญต่อระบบภาษีอากรของประเทศไทยเป็นการปฏิรูปภาษีการค้าครั้งใหญ่ ทำให้ระบบภาษีอากรของประเทศมีความสอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน และเอื้ออำนวยต่อการลงทุนการส่งออก และการขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจ เนื่องจากภาษีมูลค่าเพิ่มไม่มีความซ้ำซ้อนของภาระภาษีดังเช่นภาษีการค้า นอกจากนี้ภาษีมูลค่าเพิ่มทำให้เกิดความเป็นธรรมและความสะดวกต่อการปฏิบัติตามของผู้เสียภาษีอีกด้วย



1.4 กิจการที่ได้รับการยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม

การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
           1. การขายสินค้าหรือให้บริการของผู้ประกอบการที่มีรายรับไม่เกิน 1.2 ล้านบาทต่อปี
           2. การขายพืชผลทางการเกษตรภายในราชอาณาจักร เช่น ข้าว ข้าวโพด ปอ มันสำปะหลัง ผักและผลไม้ เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ป.28/2535ฯ)
           3. การขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตหรือไม่มีชีวิตภายในราชอาณาจักร เช่น โค กระบือ ไก่หรือเนื้อสัตว์ กุ้ง ปลา เป็นต้น (คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.29/2535ฯ)
           4. การขายปุ๋ย
           5. การขายปลาป่น อาหารสัตว์
           6. การขายยาหรือเคมีภัณฑ์ที่ใช้สำหรับพืชหรือสัตว์ เพื่อบำรุงรักษาป้องกัน ทำลายหรือกำจัดศัตรูหรือโรคของพืชและสัตว์
           7. การขายหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือตำราเรียน
           ** ผู้ประกอบการที่ประกอบกิจการตาม 1. ถึง 7. ดังกล่าว จะเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มก็ได้
           8. การนำเข้าสินค้าตาม 2. ถึง 7.
           9. การให้บริการการศึกษาของสถานศึกษาของทางราชการ สถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชน หรือโรงเรียนเอกชนตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
           10. การให้บริการขนส่งในราชอาณาจักรไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำหรือทางอากาศ อย่างไรก็ดี หากเป็นการให้บริการขนส่งโดยอากาศยาน และการให้บริการขนส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อ ผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกเข้าสู่ระบบภาษีมูลค่าเพิ่มได้
           11. การให้บริการขนส่งระหว่างประเทศทางบกและทางเรือซึ่งมิใช่เรือเดินทะเล
           12. การให้บริการรักษาพยาบาลของสถานพยาบาลทางราชการและเอกชน
           13. การให้บริการห้องสมุด พิพิธภัณฑ์ สวนสัตว์
           14. การให้บริการจัดแข่งขันกีฬาสมัครเล่น
           15. การให้บริการประกอบโรคศิลปะ การสอบบัญชี การว่าความ
           16. การให้บริการของนักแสดงสาธารณะ
           17. การให้บริการที่เป็นงานทางศิลปะและวัฒนธรรม
ในสาขาและลักษณะการประกอบกิจการที่อธิบดีกำหนดโดยอนุมัติรัฐมนตรี
           18. การให้บริการวิจัย หรือการให้บริการทางวิชาการ ซึ่งต้องมีลักษณะการประกอบกิจการตามที่กรมสรรพากรกำหนด คือ ต้องเป็นการวิจัยหรือบริการทางวิชาการสาขาวิทยาศาสตร์และ สาขาสังคมศาสตร์ แต่ต้องมิใช่เป็นการกระทำในทางธุรกิจ ทั้งนี้ ผู้ประกอบการต้องเป็นบุคคลธรรมดาหรือเป็นคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หรือมูลนิธิ
           19. การให้บริการตามสัญญาจ้างแรงงาน
           20. การให้บริการเช่าอสังหาริมทรัพย์
           21. การให้บริการของราชการส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้ไม่รวมถึงบริการที่เป็นการพาณิชย์ของราชการส่วนท้องถิ่น หรือเป็นการหารายได้ หรือผลประโยชน์ไม่ว่าจะเป็นกิจการสาธารณูปโภคหรือไม่ก็ตาม
           22. การขายสินค้าหรือการให้บริการของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งส่งรายรับทั้งสิ้นให้แก่รัฐโดยไม่หักรายจ่าย
           23. การขายสินค้าหรือการให้บริการเพื่อประโยชน์แก่การศาสนา หรือการสาธารณกุศลภายในประเทศ ซึ่งไม่นำผลกำไรไปจ่ายในทางอื่น
           24. การบริจาคสินค้าให้แก่สถานพยาบาล และสถานศึกษาของทางราชการ หรือให้แก่องค์การหรือสถานสาธารณกุศล หรือสถานพยาบาลและสถานศึกษาอื่นตามที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
           25. การขายบุหรี่ซิกาแรต ที่ผลิตโดยโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง ซึ่งผู้ขายเป็นบุคคลอื่นที่มิใช่โรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง
           26. การขายสลากกินแบ่งของรัฐบาล สลากออมสินของรัฐบาล และสลากบำรุงสภา-กาชาดไทย
           27. การขายแสตมป์ไปรษณีย์แสตมป์อากรหรือแสตมป์อื่นของรัฐบาลองค์การของรัฐบาลหรือองค์การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นเฉพาะที่ยังไม่ได้ใช้ในราคาที่ไม่เกินมูลค่าที่ตราไว้
           28. การให้บริการสีข้าว


1.5 ความรับผิดชอบในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
  กรณีขายสินค้า เกิดขึ้นเมื่อมีการส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ  เว้นแต่  กรณีที่ผู้ขายได้โอนกรรมสิทธิ์สินค้า  หรือได้รับชำระราคาสินค้า  หรือได้ออกใบกำกับภาษี ก่อนมีการส่งมอบสินค้า
  กรณีขายสินค้าตามสัญญาให้เช่าซื้อ/ซื้อขายผ่อนชำระที่กรรมสิทธิ์ในสินค้ายังไม่โอนไปยังผู้ซื้อเมื่อได้ส่งมอบเกิดขึ้นเมื่อถึงกำหนดชำระราคาตามงวดที่ถึงกำหนด  เว้นแต่  กรณีที่ผู้ขายได้รับชำระราคาสินค้า หรือได้ออกใบกำกับภาษีก่อนที่จะถึงกำหนดชำระ
  กรณีขายสินค้าโดยมีการตั้งตัวแทนเพื่อขายและได้ส่งมอบสินค้าให้ตัวแทนแล้ว เกิดขึ้นเมื่อตัวแทนได้ส่งมอบสินค้าให้แก่ผู้ซื้อ    เว้นแต่ ตัวแทนได้โอนกรรมสิทธิ์ในสินค้าให้แก่ผู้ซื้อก่อนก่อนได้รับชำระราคาสินค้าหรือได้ออกใบกำกับภาษี  หรือได้มีการนำสินค้าไปใช้
  กรณีการขายสินค้าโดยการส่งออก เกิดขึ้นพร้อมกันกับการชำระอากรขาออก หรือวันที่ได้มีการวางค้ำประกันอากรขาออก   เว้นแต่  กรณีไม่ต้องชำระอากรขาออก  จะเกิดขึ้นในวันที่มีการออกใบขนสินค้าขาออกตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
  กรณีการให้บริการ เกิดขึ้นเมื่อได้รับชำระราคาค่าบริการ  เว้นแต่ ผู้ให้บริการได้ออกใบกำกับภาษีให้แก่ลูกค้า  หรือได้ใช้บริการนั้นเอง  ก่อนชำระราคา 
  กรณีนำเข้าสินค้า เกิดขึ้นพร้อมกันกับการชำระอากรขาเข้าหรือเมื่อมีการวางค้ำประกันอากรขาเข้า  เว้นแต่  กรณีไม่ต้องชำระอากรขาเข้า  จะเกิดในวันที่มีการออกใบขนสินค้าตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
1.6 ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม
     ฐานภาษีมูลค่าเพิ่ม แบ่งได้ 4 กรณี
1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป
2. ฐานภาษีส่งออก
3. ฐานภาษีนำเข้า
4. ฐานภาษีกรณีพิเศษ

1. ฐานภาษีกรณีทั่วไป (ตามมาตรา 79) ได้แก่ มูลค่าทั้งหมดที่ผู้ประกอบการได้รับหรือพึงได้รับจากการขายสินค้า / ให้บริการ รวมทั้งภาษีสรรพสามิต แต่ไม่รวมถึง 1)ส่วนลดหรือค่าลดหย่อน ที่ลดให้ทันทีในขณะขายสินค้า และต้องระบุส่วนลดไว้ในใบกำกับภาษี 2) ค่าชดเชยและเงินอุดหนุนตามที่อธิบดีกำหนด 3 ) ภาษีขาย และ 4) ประกาศอธิบดีฯเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ฉบับที่ 40 (ทั้งนี้มูลค่าของฐานภาษีให้หมายความรวมถึง เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน ค่าบริการ หรือประโยชน์ซึ่งอาจคำนวณได้เป็นตัวเงิน)

2. ฐานภาษีการส่งออก-นำเข้า
มาตรา 79/1 : การส่งออกสินค้า ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ให้ใช้ราคา F.O.B + ภาษีสรรพสามิต + ภาษีอื่น ๆ + ค่าธรรมเนียมอื่น ๆ แต่ไม่รวมอากรขาออก
**   ราคา F.O.B. คือ ราคา ณ ด่านศุลกากร ไม่รวมค่าขนส่ง และประกันภัย
   เงินมัดจำ ไม่ใช่ฐานภาษีสำหรับการส่งออก ไม่เสีย Vat แต่ฐานภาษีสำหรับการส่งออกคือ     ราคา F.O.B**
   มาตรา 79/2 : การนำเข้าสินค้า : ฐานภาษีสำหรับการนำเข้า ให้ใช้ราคา C.I.F.  + ภาษีสรรพสามิต + อากรขาเข้า
   ราคา C.I.F. คือ ราคารวมประกันภัย + ค่าระวาง (ขนส่ง)
   ราคา C.I.F. อาจถือตามราคาที่กรมศุลกากรกำหนด

3. ฐานภาษีกรณีพิเศษ (ม79/3)
   1. มาตรา 79/3 (1) การขายสินค้า / ให้บริการ ที่ไม่มีค่าตอบแทน หรือ มีค่าตอบแทนต่ำกว่าราคาตลาด โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร มูลค่าของฐานภาษีที่จะนำมาคำนวณ ให้ยึดตามราคาตลาด
   2. การนำสินค้าไปใช้เอง โดยไม่ใช่เพื่อการประกอบกิจการ มูลค่าของฐานภาษีคือราคาตลาด
   3. สินค้าขาดจาก Stock มูลค่าของฐานภาษี คือ ราคาตลาด ณ วันที่ตรวจพบ (วันที่ความรับผิดเกิดขึ้น)
   4. การขายสินค้าที่ได้เสียภาษีในอัตรา 0 ต่อมาได้กลายเป็นอัตรา 7 ฐานภาษีคือ ราคาตลาดของสินค้านั้นตามสภาพหรือปริมาณ ในวันที่ความรับผิด
   5. สินค้าคงเหลือ / ทรัพย์สินคงเหลือ ณ วันเลิกประกอบกิจการ ถือเป็นการขายโดยคิดตามราคาตลาด ณ วันเลิกประกอบกิจการ เป็นฐานภาษี 
1.             ภาษีธุรกิจเฉพาะ(Specification Business Tax)


ภาษีธุรกิจเฉพาะ เป็นภาษีตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง จัดเก็บจากการประกอบกิจการเฉพาะอย่างแทนภาษีการค้าที่ถูกยกเลิก ภาษีธุรกิจเฉพาะเริ่มใช้บังคับใน พ..2535 พร้อมกันกับภาษีมูลค่าเพิ่ม

   þ      ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

   þ      การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

  þ       กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

   þ      ฐานภาษีและอัตราภาษี

   þ      หน้าที่ของผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

  þ       การยื่นแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ

   þ      การขอคืนภาษีธุรกิจเฉพาะ

   þ      กำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี (..40)

             สถานที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษี




1.  ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

ผู้มีหน้าที่เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ ผู้ประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ไม่ว่าผู้ประกอบกิจการดังกล่าวจะประกอบกิจการในรูปของ
        -   บุคคลธรรมดา
        -   คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
        -   กองมรดก
        -   ห้างหุ้นส่วนสามัญ
        -   กองทุน
        -   หน่วยงานหรือกิจการของเอกชนที่กระทำโดยบุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคนขึ้นไปอันมิใช่นิติบุคคล
        -   องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล

ในกรณีผู้ประกอบกิจการอยู่นอกราชอาณาจักร ให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการประกอบกิจการรวมตลอดถึง ลูกจ้าง ตัวแทน หรือผู้ทำการแทนซึ่งมีอำนาจในการจัดการแทนโดยตรง หรือโดยปริยายที่อยู่ในราชอาณาจักร เป็นผู้มีหน้าที่เสียภาษีร่วมกับผู้ประกอบกิจการดังกล่าวข้างต้น

2.  การประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

กิจการที่จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะได้แก่ การประกอบกิจการดังต่อไปนี้ในราชอาณาจักร โดยกิจการนั้น ไม่ได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะ
        1.   การธนาคาร ตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ หรือกฎหมายเฉพาะ
        2.   การประกอบธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ ตามกฎหมายว่าด้วย การประกอบ ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์ และธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์
        3.   การรับประกันชีวิต ตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
        4.   การรับจำนำ ตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
        5.   การประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน แลกเปลี่ยนเงินตรา ออก ซื้อ หรือขายตั๋วเงิน หรือรับส่งเงินไปต่างประเทศด้วยวิธีต่าง ๆ

              ในกรณีที่มีปัญหาว่า กิจการใดเป็นการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์หรือไม อธิบดีกรมสรรพากรจะเสนอให้คณะกรรมการวินิจฉัยภาษีอากรพิจารณากำหนดขอบเขตและเงื่อนไขของการประกอบกิจการดังกล่าวนั้นก็ได้และเมื่อคณะกรรมการวินิจฉัย ภาษีอากรได้วินิจฉัยแล้ว ให้ประกาศคำวินิจฉัยนั้นในราชกิจจานุเบกษา
        6.   การขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ไม่ว่าอสังหาริมทรัพย์นั้นจะได้มาโดยวิธีใดก็ตาม ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 342) ..2541 (ใช้บังคับตั้งแต่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป) ดังต่อไปนี้
              การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทางการค้าหรือหากำไรตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้แก่การขายอสังหาริม ทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังต่อไปนี้

            (1)   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ถือว่าเป็นทางการค้าหรือหากำไรตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้แก่ การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังต่อไปนี้
            (2)   การขายห้องชุดของผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ขอจดทะเบียนอาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วย อาคารชุด
            (3)   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อขาย รวมถึงการขายที่ดินอันเป็นที่ตั้งของ อาคารดังกล่าว
            (4)   การขายอสังหริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) หรือ (3) เฉพาะกรณีที่มีการแบ่งขาย หรือแบ่งแยกไว้เพื่อขาย โดยได้จัดทำถนนหรือสิ่งสาธารณูปโภคอื่น หรือให้คำสั่นว่าจะจัดให้มีสิ่งดังกล่าว
            (5)   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ผู้ขายมีไว้ในการประกอบกิจการเฉพาะของบริษัทหรื ห้างหุ้นส่วน ที่มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้นิติบุคคล องค์การของรัฐบาล สหกรณ์ และองค์กรอื่นที่กฎหมายกำหนดให้เป็นนิติบุคคล
            (6)   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่เข้าลักษณะตาม (1) (2) (3) (4) (5) ที่ได้กระทำภายในห้าปี นับแต่วันที่ได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์นั้น เว้นแต่
                    ()   การขายหรือการถูกเวนคืนตามกฎหมาย ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์
                    ()   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ได้มาโดยทางมรดก
                    ()   การขายอสังหาริมทรัพย์ที่ใช้เป็นสถานที่อยู่อาศัยอันเป็นแหล่งสำคัญที่ผู้ขายมีชื่อ อยู่ในทะเบียนบ้านตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎรเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปีที่นับแต่วันที่ได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์นั้นในกรณีที่ที่ดินและอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างตาม () ได้มาไม่พร้อมกันกำหนดเวลาห้า ปีตามความใน (16) ให้ถือตามระยะเวลาการได้มาซึ่งที่ดินหรืออาคารหรือสิ่งปลูกสร้างที่ได้มาภายหลัง
                    ()   การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ โดยไม่มีค่าตอบแทน ให้แก่บุตรชอบด้วยกฎหมายของตน แต่ไม่รวมถึงบุตรบุญธรรม
                    ()   การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ ทางมรดกให้แก่ทายาท โดยธรรมหรือผู้รับพินัยกรรมซึ่งเป็นทายาทโดยธรรม
                    ()   การโอนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ส่วนราชการหรือ องค์การของรัฐบาลโดยไม่มีค่าตอบแทน
                    ()   การแลกเปลี่ยนกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองในอสังหาริมทรัพย์กับส่วนราชการ หรือองค์การของรัฐบาลเฉพาะในกรณีที่ส่วนราชการหรือองค์การของรัฐบาลนั้นมิได้มีการจ่ายค่าตอบแทนเป็นอย่าง อื่น นอกจากอสังหาริมทรัพย์ที่แลกเปลี่ยนนั้น

หมายเหตุ ผู้มีเงินได้ที่ได้รับเงินได้พึงประเมินจากการขายอสังหาริมทรัพย์ตาม (6) ซึ่งได้ถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และได้เสียภาษีธุรกิจเฉพาะไว้แล้วเมื่อถึงกำหนดยื่นรายการเสียภาษีเงินได้ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำเงินได้ดังกล่าว มาคำนวณเป็นเงินได้พึงประเมิน ทั้งนี้เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 376 ..2544)
            (7)   การขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในตลาดหลักทรัพย์
            (8)   การประกอบกิจการอื่น ตามกำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
            กำหนดให้กิจการซื้อและขายคืนหลักทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการกำกับ หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์เป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้อง เสียภาษีธุรกิจเฉพาะ เนื่องจากการประกอบกิจการซื้อหรือขายคืนหลักทรัพย์โดยมีสัญญาหรือซื้อคืนดังกล่าวมี ลักษณะอื่นที่อยู่ในบัง คับต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 350) .. 2524
            กำหนดให้การประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงเป็นกิจการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีธุรกิจ เฉพาะ เนื่องจากการประกอบธุรกิจดังกล่าวมีลักษณะคล้ายคลึงกับการให้กู้ยืมเงินที่เป็นการประกอบกิจการโดยปกติ เยี่ยงธนาคารพาณิชย์ (พระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 358) ..2542 )
            คำว่า "ธุรกิจแฟ็กเตอริง" หมายความว่า ธุรกิจที่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการตกลงจะ โอนทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชำระหนี้เนื่องจากการขายสินค้าหรือการให้บริการระหว่างตนกับลูกหนี้ของตน ให้แก่ผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริง โดยผู้ประกอบธุรกิจแฟ็กเตอริงตกลงจะให้สินเชื่อซึ่งรวมถึงการให้กู้ยืมและการ ทดรองจ่ายแก่ผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการและรับที่จะดำเนินการอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้
                    ()   จัดให้มีบัญชีทรัพย์สินที่จะได้รับการชำระหนี้
                    ()   เรียกเก็บทรัพย์สินที่จะได้รับจากการชำระหนี้
                    ()   รับผิดชอบในหนี้ที่ลูกหนี้ของผู้ขายสินค้าหรือผู้ให้บริการผิดนัด

3.  กิจการที่ไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

การประกอบกิจการต่อไปนี้ได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
        1.   กิจการของธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารออมสิน ธนาคารอาคารสงเคราะห์ และ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
        2.   กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

        3.   กิจการของสหกรณ์ออมทรัพย์เฉพาะการให้กู้ยืมแก่สมาชิกหรือแก่สหกรณ์ออมทรัพย์อื่น
        4.   กิจการของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วย กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
        5.   กิจการของการเคหะแห่งชาติเฉพาะการขาย หรือให้เช่าซื้ออสังหาริมทรัพย์
        6.   กิจการรับจำนำของกระทรวง ทบวง กรม และราชการส่วนท้องถิ่น
        7.   กิจการขายหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยใน ตลาดหลักทรัพย์
        8.   กิจการของบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม
        9.   กิจการของบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม
        10.   กิจการของธนาคารเพื่อการส่งออก และนำเข้าแห่งประเทศไทย
        11.   กิจการของกองทุนสิ่งแวดล้อมตามกฎหมายว่าด้วยการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ
        12.   กิจการขององค์การเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน
        13.   กิจการของบรรษัทบริหารสินทรัพย์สถาบันการเงิน
        14.   กิจการของนิติบุคคลเฉพาะกิจในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้
                 (1)   กิจการที่เกิดขึ้นเนื่องจากการรับโอนทรัพย์สินจากบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล หรือนิติบุคคลอื่น หรือการโอนทรัพย์สินดังกล่าวคืนให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่น
                 (2)   กิจการที่ได้รับโอนมาจากผู้โอนซึ่งได้รับยกเว้นภาษีธุรกิจเฉพาะตาม (1)-(7) ข้างต้น
        15.   กิจการของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นในส่วนที่เกี่ยวกับการแปลงสินทรัพย์ เป็นหลักทรัพย์ เฉพาะที่เกิดขึ้นเนื่องจากการโอนทรัพย์สินให้แก่นิติบุคคลเฉพาะกิจหรือการรับโอนทรัพย์สินดังกล่าว กลับคืนจากนิติบุคคลเฉพาะกิจ
        16.   กิจการของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ กองทุนอสังหาริมทรัพย์เพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบัน การเงินและกองทุนรวมเพื่อแก้ไขปัญหาในระบบสถาบันการเงินที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์เฉพาะการประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์และการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหา กำไร
        17.   กิจการของบรรษัทตลาดรองสินเชื่อที่อยู่อาศัย
        18.   กิจการของการเคหะแห่งชาติ เฉพาะการให้กู้ยืมเงินตามโครงการพัฒนาคนจนในเมือง
        19.   กิจการของสหกรณ์ประเภทสหกรณ์บริการซึ่งดำเนินการเกี่ยวกับการจัดหาที่อยู่อาศัยให้แก่สมาชิก เฉพาะกรณีดังต่อไปนี้

                 (1)   ต้องเป็นสหกรณ์ที่เป็นสมาชิกของโครงการพัฒนาคนใจในเมืองของการเคหะแห่งชาติ และได้รับเงินตามโครงการดังกล่าว
                 (2)   ต้องนำเงินที่ได้รับไปจัดซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อขายต่อให้แก่สมาชิกของสหกรณ์นั้น
        20.   กิจการของสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทบริหารสินทรัพย์ เฉพาะกรณีที่
                 (1)   สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มี สิทธิออกเสียงหรือในกรณีที่สถาบันการเงินนั้นถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้นเกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง จะต้องมีนิติบุคคลรายหนึ่งถือหุ้นในบริษัทบริหารสินทรัพย์และสถาบันการเงินนั้น เกินกว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
                 (2)   เป็นรายรับที่ได้จากบริษัทบริหารสินทรัพย์ เนื่องจากการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์ เพื่อรับซื้อหรือโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพของสถาบันการเงินนั้นหรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกิน กว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง หรือการให้สินเชื่อแก่บริษัทบริหารสินทรัพย์เพื่อใช้ในการบริหารสิน ทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับซื้อหรือรับโอนจากสถาบันการเงินนั้นหรือสถาบันการเงินอื่นที่มีสถาบันการเงินนั้นถือหุ้นเกิน กว่าร้อยละ 50 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียง
        21.   กิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางการค้าหรือหากำไร เนื่องจาก
                 (1)   การรับไถ่อสังหาริมทรัพย์จากากรขายฝากหรือการไถ่อสังหาริมทรัพย์จากการขายฝากโดยการ วางทรัพย์ต่อสำนักงานวางทรัพย์ภายในเวลาที่กำหนดได้ในสัญญา หรือภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
                 (2)   การขายอสังหาริทรัพย์ภายหลังที่ได้ไถ่จากการขายฝากซึ่งเมื่อรวมระยะเวลาการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ก่อนการขายฝาก ระยะเวลาระหว่างการขายฝากและระยะเวลาภายหลังจากการขายฝากแล้วเกินห้าปี
        22.   การขายอสังหาริมทรัพย์ขององค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ หรือบริษัทจำกัดที่สถาบันการ เงินตามพระราชกฤษฏีกาจัดตั้งองค์การบริหารสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ พ.. 2540 ได้จัดตั้งขึ้นเพื่อดำเนินการบริหาร สินเชื่ออสังหาริมทรัพย์โดยความเห็นชอบของธนาคารแห่งประเทศไทย
        23.   การขายอสังหาริมทรัพย์ของผู้ประกอบกิจการให้แก่องค์การฯ หรือบริษัทจำกัดตาม 22




หมายเหตุ

กรณีประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ กรมสรรพากรวาง แนวทางปฏิบัติ ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.26/2534 กำหนดให้รายรับกรณีดอกเบี้ยสำหรับกิจการเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ไม่ต้องนำ มารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ดังนี้
                 (1)   กรณีบริษัทในเครือเดียวให้กู้ยืมเงินกันเอง ไม่ว่าจะนำเงินของตนหรือนำเงินที่กู้ยืมจากบุคคลอื่นมา ให้กู้ยืมในระหว่างกันเองและไม่ว่าจะคิดดอกเบี้ยในอัตราเท่าใดก็ตาม ดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นจากการกู้ยืมเงินในกรณีเช่นนี้ ไม่ต้องนำมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ
                          คำว่า "บริษัทในเครือเดียวกัน" หมายความว่า บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตั้งแต่สองนิติบุคคลขึ้น ไปซึ่งมีความสัมพันธ์กันโดยบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลใดถือหุ้นหรือเป็นหุ้นส่วน อยู่ในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลอีกแห่งหนึ่งไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของหุ้นทั้งหมดที่มีสิทธิออกเสียงในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล นั้นเป็นเวลาไม่น้อยกว่าหกเดือนก่อนวันที่มีการกู้ยืม
                 (2)   กรณีที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนำเงินทุน เงินกู้ยืม เงินเพิ่มทุน หรือเงินที่อื่นที่เหลืออยู่ไป ฝากธนาคารหรือซื้อตั๋วเงินของสถาบันการเงินอื่น โดยได้รับดอกเบี้ยตามอัตราปกติกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าดอกเบี้ยนั้นเป็นรายรับที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ แม้ว่าบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะประกอบกิจการโดยปกติเยี่ยงธนาคารพาณิชย์ก็ตาม
                         ความใน 1. และ 2. ไม่รวมถึงการประกอบกิจการธนาคาร กิจการธุรกิจเงินทุนธุรกิจหลักทรัพย์ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการรับประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
                 (3)   กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีระเบียบเกี่ยวกับ เงินกองทุนสะสมพนักงานหรือทุนอื่นใดเพื่อพนักงาน และบรษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้นำเงินกองทุนนี้ออกให้พนักงานที่เป็นสมาชิกกู้ยืมเป็นสวัสดิการ โดยคิดดอกเบี้ยสำหรับเงินที่ให้กู้นั้นตามสมควร ไม่ต้องนำดอกเบี้ยนั้นมารวมคำนวณเป็นรายรับเพื่อเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ

4.  ฐานภาษี และอัตราภาษี
ฐานภาษีสำหรับการประกอบกิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ ได้แก่ รายรับก่อนหักรายจ่ายใด ๆ ที่ผู้ประกอบกิจการได้รับ หรือพึงได้รับเนื่องจากการประกอบกิจการ
"รายรับ" หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือประโยชน์ใด ๆ อันมีมูลค่าที่ผู้ประกอบกิจการ ได้รับหรือพึงได้รับ ไม่ว่าในหรือนอกราชอาณาจักรอันเนื่องมาจากการประกอบกิจการ

กิจการที่ต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะ จะต้องเสียภาษีโดยคำนวณจากฐานภาษี ซึ่งได้แก่ รายรับตามฐานภาษี ของแต่ละประเภทกิจการ คูณด้วยอัตราภาษีที่กำหนดไว้ และจะต้องเสียภาษีท้องถิ่นอีก ร้อยละ 10 ของจำนวนภาษี ธุรกิจเฉพาะดังกล่าว
กิจการ                                                                                                                                                   อัตราภาษีร้อยละ
 กิจการธนาคาร,ธุรกิจเงินทุน ธุรกิจหลักทรัพย์,
ธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ และการประกอบกิจการเยี่ยง
ธนาคารพาณิชย์
ฐานภาษี
-          ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
หรือกำไรก่อนหักรายจ่าย ใดๆ จากการซื้อหรือขายตั๋วเงินหรือ
ตราสารแสดงสิทธิในหนี้ใด ๆ
 3.0

-          กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการ แลกเปลี่ยนหรือซื้อขายเงินตรา
 การออกตั๋วเงินหรือการส่งเงินไปต่างประเทศ
                                                                                                                                                                                3.0

2.   กิจการรับประกันชีวิต
 -   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม ค่าบริการ
                                                                                                                                                2.5

3.   กิจการโรงรับจำนำ
 -   ดอกเบี้ย ค่าธรรมเนียม
                                                                                                                                                2.5

-  เงิน ทรัพย์สิน ค่าตอบแทน หรือ ประโยชน์ใดๆ อันมีมูลค่าที่ได้รับ หรือพึงได้รับจากการขายของที่ จำนำหลุดเป็นสิทธิ
 2.5

4.   การค้าอสังหาริมทรัพย์
 - รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
 0.1

5.   การขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์
 -   รายรับก่อนหักรายจ่ายใดๆ
 0.1 (ยกเว้น)

6.   การซื้อและการขายคืนหลัก ทรัพย์ที่ได้รับอนุญาตจาก คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และ ตลาดหลักทรัพย์
 -   กำไรก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากการขายคืนหลักทรัพย์ แต่ไม่รวมถึง ดอกเบี้ย เงินปันผล หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้จากหลักทรัพย์
                                                                                                                                                3.0

7.   ธุรกิจแฟ็กเตอริง
 -   ดอกเบี้ย ส่วนลด ค่าธรรมเนียม หรือค่าบริการ
 3.0



หมายเหตุ   อัตราภาษีของการค้าอสังหาริมทรัพย์ให้ลดและคงจัดเก็บในอัตราร้อยละ 0.1 โดยมีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544 (พระราชกฤษฎีกา(ฉบับที่ 366) ..2543)

การคำนวณรายรับดังกล่าวข้างต้นให้เป็นไปตามวิธีการหลักเกณฑ์และการปฏิบัติทางบัญชี และเมื่อได้เลือก ปฏิบัติเป็นอย่างใดแล้ว (เช่น เลือกใช้เกณฑ์เงินสดหรือเกณฑ์สิทธิ เป็นต้น) จะต้องถือปฏิบัติเป็นอย่างเดียวตลอดไป เว้นแต่ จะได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากรให้เปลี่ยนแปลง 
อากรแสตมป์ เป็นภาษีอากรตามประมวลรัษฎากรประเภทหนึ่ง ซึ่งมีการจัดเก็บจากการทำตราสารระหว่างกัน 28 ลักษณะ ตามที่กำหนดไว้ในบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ลักษณะของอากรแสตมป์จะมีการจัดพิมพ์คล้ายกับตราไปรษณียากร (แสตมป์ไปรษณีย์) มีลวดลาย รอยปรุของฟันแสตมป์ และราคาแสตมป์ แต่ต่างกันที่จะไม่มีตราประทับ จะใช้การขีดฆ่าแสดงการใช้แสตมป์ดังกล่าว ซึ่งผู้ที่จะขีดฆ่าได้ต้องเป็นไปตามกำหนดของประมวลรัษฎากร
1.             [แก้] บัญชีอัตราอากรแสตมป์(Stamp Duty)

ข้อควรระวัง รายการเหล่านี้เป็นเพียงข้อสรุปเพื่อความเข้าใจเท่านั้น หากต้องการนำไปใช้งานกรุณาอ่านเพิ่มเติมในประมวลรัษฎากร
1.             เช่าที่ดิน โรงเรือน สิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นหรือแพ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งค่าเช่า หรือเงินกินเปล่า หรือทั้ง2อย่างรวมกัน
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
o    ข้อยกเว้น การเช่าทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
2.             โอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ พันธบัตรและใบรับรองหนี้ ซึ่งบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์กรใดๆ เป็นผู้ออก ให้คิดตามราคาหุ้นที่ชำระแล้วหรือตามราคาในตราสาร แล้วแต่อย่างใดจะมากกว่า ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้โอน
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับโอน
o    ข้อยกเว้น
§  การโอนพันธบัตรของรัฐบาลไทย
§  การโอนใบหุ้น ใบหุ้นกู้ และใบรับรองหนี้ ซึ่งสหกรณ์ หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเป็นผู้ออก
3.             เช่าซื้อทรัพย์สิน ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งราคาทั้งหมด
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้เช่า
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เช่า
o    ข้อยกเว้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
4.             จ้างทำของ ทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาทแห่งสินจ้างที่กำหนดไว้
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจ้าง
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจ้าง
o    ข้อยกเว้น การเช่าซื้อทรัพย์สินที่ใช้ในการทำนา ไร่ สวน
5.             กู้ยืมเงินหรือการตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชีจากธนาคาร ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งยอดเงินให้กู้ยืม หรือตกลงให้เบิกเงินเกินบัญชี โดยมีจำนวนเงินสูงสุดที่ต้องเสียอยู่ที่ 10,000 บาท
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ให้กู้
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้กู้
o    ข้อยกเว้น การกู้ยืมเงินซึ่งสมาชิกกู้ยืมเงินจากสหกรณ์, สหกรณ์กู้ยืม หรือธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร
6.             กรมธรรม์ประกันภัย โดยแยกเป็น
1.             กรมธรรม์ประกันวินาศภัย ทุกจำนวนเงิน 250 บาท หรือเศษของ 250 บาทแห่งเบี้ยประกันภัย
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
2.             กรมธรรม์ประกันชีวิต ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย ซึ่งเป็นเงินค่าอากรแสตมป์ไม่เกิน 20 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
3.             กรมธรรม์ประกันภัยอื่นๆ ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งจำนวนเงินที่เอาประกันภัย
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
4.             กรมธรรม์เงินปี ทุกจำนวนเงิน 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาทแห่งต้นทุนเงินปีนั้น ถ้าไม่มีต้นทุนเงินปีให้คิดทุก 2,000 บาทหรือเศษของ 2,000 บาทแห่ง 33 1/3เท่าของรายได้ประจำปี
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
5.             กรมธรรม์ประกันภัยซึ่งผู้รับประกันภัยนำไปให้ผู้อื่นประกันอีกต่อหนึ่ง
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
6.             บันทึกการต่ออายุกรมธรรม์ประกันภัยเดิม
§  ค่าอากรแสตมป์ ครึ่งหนึ่งของอัตราเดิม
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับประกันภัย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับประกันภัย
o    ข้อยกเว้น
8.             การประกันภัยสัตว์พาหนะ ซึ่งใช้ในการเกษตรกรรม
9.             บันทึกการประกันภัย หรือกรมธรรม์ประกันภัยชั่วคราว ซึ่งจะมีการออกตัวจริงต่อมา
                                                ใบมอบอำนาจ แบ่งเป็น
0.             มอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคน กระทำการครั้งเดียว
§  ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
1.             มอบอำนาจให้บุคคลเดียว หรือหลายคน ร่วมกันกระทำการมากกว่าครั้งเดียว
§  ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
2.             มอบอำนาจให้กระทำการมากกว่าครั้งเดียว โดยให้บุคคลหลายคนกระทำแยกกันได้ ให้คิดเป็นรายตัวบุคคล
§  ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบอำนาจ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับมอบอำนาจ
o    ข้อยกเว้น
4.             ใบแต่งตั้งทนาย และใบมอบอำนาจให้ทนายความเพื่อเป็นตัวแทนดำเนินคดีในศาล
5.             ใบมอบอำนาจให้โอน หรือให้กระทำการใดๆที่เกี่ยวกับสัตว์พาหนะ
6.             ใบมอบอำนาจให้รับเงิน หรือสิ่งของตอบแทน
7.             ใบมอบอำนาจซึ่งสหกรณ์เป็นผู้มอบ และใบมอบอำนาจตั้งสหกรณ์เป็นตัวแทนจัดการให้ สหกรณ์ได้รับสิทธิในอสังหาริมทรัพย์
                                                ใบมอบฉันทะสำหรับให้ลงมติประชุมของบริษัท แบ่งเป็น
0.             มอบฉันทะสำหรับการประชุมครั้งเดียว
§  ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบฉันทะ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้มอบฉันทะ
1.             มอบฉันทะสำหรับการประชุมมากกว่าครั้งเดียว
§  ค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้มอบฉันทะ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้มอบฉันทะ
                                                ตั๋วแลกเงิน ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกัน แบ่งเป็น
0.             ตั๋วแลกเงิน หรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วแลกเงิน ฉบับละ
§  ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้สั่งจ่าย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้สั่งจ่าย
1.             ตั๋วสัญญาใช้เงิน หรือตราสารทำนองเดียวกันที่ใช้อย่างตั๋วสัญญาใช้เงิน ฉบับละ
§  ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตั๋ว
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตั๋ว
                                                บิลออฟเลดิง
o    ค่าอากรแสตมป์ 2 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้กระทำตราสาร
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้กระทำตราสาร
                                                ตราสารทางธุรกิจ แยกเป็น
0.             ใบหุ้น หรือใบหุ้นกู้ หรือใบรับรองหนี้ของบริษัท สมาคม คณะบุคคล หรือองค์การใดๆ
§  ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสาร
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสาร
1.             พันธบัตรของรัฐบาลใดๆ ที่ขายในประเทศไทย
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสาร
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสาร
o    ข้อยกเว้น ตราสารของสหกรณ์
                                                เช็ค หรือหนังสือคำสั่งใดๆ ซึ่งใช้แทนเช็ค
o    ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้สั่งจ่าย
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้สั่งจ่าย
                                                ใบรับฝากเงินประเภทประจำของธนาคารโดยมีดอกเบี้ย
o    ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับฝาก
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับฝาก
                                                เลตเตอร์ออฟเครดิต แยกตามสถานที่ออกเป็น
0.             ออกในประเทศไทย ซึ่งแยกตามจำนวนเงินเป็น
1.             เงินต่ำกว่า 10,000 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตราสาร
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตราสาร
2.             เงินตั้งแต่ 10,000 บาท ขึ้นไป
§  ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกตราสาร
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกตราสาร
1.             ออกในต่างประเทศ และให้ชำระเงินในประเทศไทย คราวละ
§  ค่าอากรแสตมป์ 20 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงตราสารคนแรกในประเทศไทย
                                                เช็คเดินทาง
0.             ออกในประเทศไทย ฉบับละ
§  ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกเช็ค
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกเช็ค
1.             ออกในต่างประเทศ แต่ให้ชำระในประเทศไทย ฉบับละ
§  ค่าอากรแสตมป์ 3 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ทรงคนแรกในประเทศไทย
                                                ใบรับของ ซึ่งออกให้จากกิจการรับขนส่งสินค้า
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกใบรับ
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกใบรับ
                                                ค้ำประกัน แยกตามจำนวนเงินเป็น
0.             สำหรับกรณีที่ไม่จำกัดจำนวนเงินไว้
§  ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
1.             สำหรับจำนวนเงินไม่เกิน 1,000 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
2.             สำหรับจำนวนเงินที่เกิน 1,000 บาทแต่ไม่เกิน 10,000 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
3.             สำหรับจำนวนเงินเกิน 10,000 บาท ขึ้นไป
§  ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ค้ำประกัน
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ค้ำประกัน
o    ข้อยกเว้น
5.             ค้ำประกันหนี้จากการที่รัฐบาลให้ราษฎรกู้ยืมเพื่อการบริโภค หรือการเกษตรกรรม
6.             ค้ำประกันหนี้จากสหกรณ์ ที่ให้สมาชิกกู้ยืม
                                                จำนำ แยกตามจำนวนหนี้เป็น
0.             จำนวนหนี้ทุก 2,000 บาท หรือเศษของ 2,000 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจำนำ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจำนำ
1.             ไม่จำกัดจำนวนหนี้ไว้
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้รับจำนำ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้รับจำนำ
o    ข้อยกเว้น
3.             ตั๋วจำนำของโรงจำนำที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย
4.             จำนำอันเกี่ยวกับการกู้ยืม ซึ่งได้ปิดแสตมป์ครบตามข้อ 5 แล้ว
                                                ใบรับของคลังสินค้า
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ นายคลังสินค้า
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ นายคลังสินค้า
                                                คำสั่งให้ส่งมอบของ
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกคำสั่ง
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกคำสั่ง
                                                ตัวแทน แยกเป็น
0.             มอบอำนาจเฉพาะการ
§  ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ตัวการ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ตัวการ
1.             มอบอำนาจทั่วไป
§  ค่าอากรแสตมป์ 30 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ตัวการ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ตัวการ
o    ข้อยกเว้น การตั้งตัวแทนจากสหกรณ์
                                                คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ แยกตามจำนวนเงินเป็น
0.             ในกรณีพิพาทกันด้วยจำนวนเงิน หรือราคาทุกจำนวนเงิน 1,000 บาท หรือเศษของ 1,000 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ อนุญาโตตุลาการ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ อนุญาโตตุลาการ
1.             ในกรณีซึ่งไม่ระบุจำนวนเงิน
§  ค่าอากรแสตมป์ 10 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ อนุญาโตตุลาการ
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ อนุญาโตตุลาการ
                                                คู่ฉบับหรือคู่ฉีกแห่งตราสาร แยกเป็น
0.             ต้นฉบับเสียอากรไม่เกิน 5 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ
2.             ถ้าไม่มีคู่สัญญา ให้ผู้ที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับ
3.             ถ้ามีคู่สัญญา ให้เป็นคู่สัญญา
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ที่ขีดฆ่าต้นฉบับ
1.             ต้นฉบับเสียอากรเกิน 5 บาท
§  ค่าอากรแสตมป์ 5 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ
2.             ถ้าไม่มีคู่สัญญา ให้ผู้ที่เสียอากรสำหรับต้นฉบับ
3.             ถ้ามีคู่สัญญา ให้เป็นคู่สัญญา
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ที่ขีดฆ่าต้นฉบับ
o    ข้อยกเว้น ถ้าฝ่ายที่ต้องเสียอากรเป็นสหกรณ์
                                                หนังสือบริคณห์สนธิของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อนายทะเบียน
o    ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เริ่มก่อการ
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เริ่มก่อการ
                                                ข้อบังคับของบริษัทจำกัด ที่ส่งต่อนายทะเบียน
o    ค่าอากรแสตมป์ 200 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ กรรมการ
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ กรรมการ
                                                ข้อบังคับใหม่ หรือสำเนาหนังสือบริคณห์สนธิหรือข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลง ที่ส่งต่อนายทะเบียน
o    ค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ กรรมการ
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ กรรมการ
                                                หนังสือสัญญาห้างหุ้นส่วน แยกเป็น
0.             หนังสือสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
§  ค่าอากรแสตมป์ 100 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
1.             หนังสือสัญญาที่แก้ไขสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วน
§  ค่าอากรแสตมป์ 50 บาท
§  ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
§  ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้เป็นหุ้นส่วน
                                                ใบรับ เฉพาะตามที่ระบุต่อไปนี้
0.             ใบรับรางวัลสลากกินแบ่งของรัฐบาล
1.             ใบรับสำหรับการโอน หรือก่อตั้งสิทธิใดๆเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งต้องมีการจดทะเบียนตามกฎหมาย
2.             ใบรับสำหรับการขาย ขายฝาก ให้เช่าซื้อ หรือโอนกรรมสิทธิ์ยานพาหนะ ทั้งนี้เฉพาะยานพาหนะที่ต้องมีการจดทะเบียน
o    ค่าอากรแสตมป์ 1 บาท
o    ผู้ที่ต้องเสียอากร คือ ผู้ออกใบรับ
o    ผู้ที่ต้องขีดฆ่าแสตมป์ คือ ผู้ออกใบรับ
o    ข้อยกเว้น ใบรับสำหรับรายรับที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ
อ้างอิง  ภาษีทางอ้อม
http://www.rd.go.th